สังคมคาดหวังอะไร จากภิกษุสามเณรผู้เรียนบาลีจบ ป.ธ.9


สำหรับพระภิกษุสามเณรผู้เรียนจบ ป.ธ.9 แล้ว สังคมไทยยกย่องว่ายอดเยี่ยมสูงสุด เพราะถือว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดในระบบการศึกษาของสงฆ์ไทย แม้ว่าสังคมจะเข้าใจดีว่า การเรียนจบเปรียญธรรม 9 ประโยค อาจจะไม่ได้เข้าใจพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา อย่างแจ่มแจ้งหมดจดทั้งหมดแต่ก็ยกย่องและชื่นชมอนุโมทนาในความวิริยะอุตสาหะของท่าน 

ผู้เรียนจบบาลี ป.ธ.9 ใหม่ ๆ บางท่านก็เวิ้งว้างเหมือนกัน จบแล้วก็งง ๆ ตัวเองก็มี ไม่รู้จะทำอะไร บางท่านก็ได้โอกาสไปศึกษาเล่าเรียนต่อต่างประเทศ บ้างก็เข้าเรียนต่อตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ส่วนมาก ไม่ใช่การเรียนต่อสาขาภาษาบาลี แต่ไปเรียนสาขาวิชาการอื่น ๆ มากกว่า (ซึ่งก็น่าสนใจเช่นกันว่า ทำไมจึงไม่ศึกษาต่อสาขาภาษาบาลี)

พระเปรียญ 9 หลายรูป รู้สึกกดดัน เพราะสังคมยกย่องสูงมาก จะทำอะไร จะไปไหน อย่างไรดูยุ่งยากมาก ตัดสินใจลำบาก บางท่านโลเลลังเล จะทำอะไรดี บางท่านเคว้งคว้างสุด ๆ ก็เลยลาสิกขาออกมาเลย พอลาสิกขาออกมาแล้วสถานภาพเปลี่ยนไป ถ้าไม่วิริยะอุตสาหะไปเรียนวิชาชีพอื่น ๆ มักจะยากลำบาก เพราะความรู้บาลี ป.ธ.9 พอลาสิกขาออกมาแล้ว มีเวทีให้ใช้ประโยชน์น้อยมากในประเทศนี้ งานของอดีตเปรียญ 9 จึงไม่พ้นงานหนังสือ ตรวจต้นฉบับ บรรณาธิการ ตามสำนักพิมพ์โรงพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ หากสังคมมีระบบที่รองรับได้ดีกว่านี้ ท่านที่มีความรู้ระดับนี้ จะต้องมีตำแหน่งงานอีกมากมายรองรับ

บางคนก็มาถาม ทำไมคนบวชเรียนจนจบ ป.ธ.9 แล้ว ยังลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสอีก ก็ได้บอกไปว่า เรื่องการบวชแล้วลาสิกขาเป็นธรรมชาติของสังคมไทย เป็นเรื่องปกติในประเทศนี้ บางคนบวช ๆ สึก ๆ 5-6 รอบก็มี (เชื่อหรือไม่ สมัยพุทธกาล มีบางท่านบวช ๆ สึก ๆ 7 รอบก็ยังมี) บางท่านบวช 30 ปี 40 ปี ก็ลาสิกขา  บางท่านลาสิกขาออกมาก็ไปเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศก็มี จึงไม่ต้องแปลกใจอะไร

ความคาดหวังของสังคมต่อพระภิกษุสามเณรเปรียญ 9 ?
ความคาดหวังของสังคมต่อพระเปรียญ 9 นั้น มีมากมายหลายเรื่อง แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งพระเปรียญ 9 หลายรูปยุคปัจจุบันไม่ค่อยรู้ พระเถระท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า โบราณประเพณีใครสอบประโยคบาลีได้ชั้นไหน ต้องสอนลูกศิษย์ให้สามารถสอบผ่านบาลีชั้นนั้นให้ได้ด้วย ดังนั้นใครสอบ ป.ธ.9 ได้ ก็ต้องไปสอนให้ลูกศิษย์สอบ ป.ธ.9 ให้ได้ จึงจะถือว่าปลดปล่อยตัวเองจากความคาดหวังของสังคม  นี่เป็นอุบายอันลึกซึ้งในการสร้างศาสนทายาทของประเทศนี้ ท่านที่สอบได้ ป.ธ.9 ต้องไปสอนบาลี ต้องไปถ่ายทอดความรู้ภาษาบาลี ต้องไปสร้างลูกศิษย์ให้สอบ ป.ธ.9 ให้ได้อย่างน้อย 9 รูป จึงจะสมภูมิ

พระภิกษุ ป.ธ.9 ทั้งหลายในยุคปัจจุบันจะมีความคิดเห็นเป็นประการใดหรือจะพิจารณาไปอย่างไรก็สุดแท้แต่  แต่ความคาดหวังของสังคมดังที่สะท้อนออกมาจากคำพูดของพระเถระผู้เฒ่า (รูปหนึ่ง) นี้ ย่อมน่ารับฟังและควรแก่การตรึกตรองยิ่ง ข้าวน้ำจตุปัจจัยที่ญาติโยมทั้งประเทศอุ้มชูบูชาท่านตั้งแต่แรกบวชจนจบ ป.ธ.9 นั้นมากมาย อนาคตของพระศาสนาก็อยู่ในมือของท่านด้วยเช่นกัน หากจบเปรียญ 9 แล้ว ยินดีพอใจในการอยู่เฉยๆ ไปวัน ๆ  วิปัสสนาธุระก็ไม่เอา คันถธุระก็ไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาภาระธุระเลยในการสอนภาษาบาลีไม่สนใจสั่งสอนศิษย์เลย  ต้องบอกว่าน่าผิดหวังและน่าเสียดายมากทีเดียว  ดังนั้นอย่าโลเลลังเลใจ ขณะครองเพศบรรพชิตอยู่ ขอท่านจงเร่งรุดตั้งใจถ่ายทอดความรู้ภาษาบาลี สอนสั่งลูกศิษย์ให้มีความสามารถสอบได้เปรียญธรรมชั้นสูงสุดเหมือนเช่นท่าน หากไม่มีผู้สนใจเรียน ท่านก็ต้องไปหาคนมาเรียน หากเขาไม่สนใจเรียน ท่านก็ต้องหาวิธีสร้างความต้องการสร้างความสนใจให้เขาอยากจะเรียนให้ได้ บทเพลงเปิดบ่อย ๆ ได้ฟังบ่อย ๆ  ก็ติดหูคนฟังได้ ฉันใด การกระตุ้นเรื่องความสำคัญของการเรียนบาลีบ่อย ๆ ย่อมจะทำให้คนเกิดความสนใจอยากเรียนบาลีได้เช่นกัน ฉันนั้น



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556 | อ่าน 11033
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15905
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39812
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9423
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10333
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13720
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5860
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8280
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10824
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5750
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5628
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)