ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น ทำให้เกิดความสับสนแก่วงการบาลีไทยหรือไม่


หนังสือเรียนบาลี มหาบาลีวิชชาลัย ไม่มีขาย
          หนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นและหนังสือบาลีอื่น ๆ ที่จัดพิมพ์โดยมหาบาลีวิชชาลัยนั้น ไม่มีการขายใด ๆ ทั้งสิ้น สถาบันมอบให้ฟรีสำหรับผู้สนใจเรียนภาษาบาลี เพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยได้เรียนภาษาบาลีเป็นประเพณีกันอย่างน้อยปีละ 200,000 คน
 
การเรียนภาษาบาลี 3 ระดับ
      เนื่องจากการเรียนการสอนภาษาบาลีของมหาบาลีวิชชาลัยนั้น ได้ออกแบบไว้ 3 ระดับดังนี้คือ
        1. หลักสูตรภาษาบาลีเบื้องต้น สำหรับประชาชนทั่วไปที่ยังใหม่และเริ่มเรียนบาลีเป็นครั้งแรก
        2. หลักสูตรภาษาบาลีชั้นกลาง สำหรับผู้ที่ผ่านการเรียนภาษาบาลีในระดับเบื้องต้นมาแล้ว กลุ่มนี้จะเรียนกัจจายนสูตร ปทรูปสิทธิเป็นหลัก
        3. หลักสูตรภาษาบาลีชั้นสูง สำหรับผู้ผ่านการศึกษาภาษาบาลีระดับกลางมาแล้ว กลุ่มนี้จะเรียนสัททนีติปกรณ์และโมคคัลลานปกรณ์เป็นหลัก
       ดังนั้น หนังสือตำราเรียนต่าง ๆ จะปูฐานผู้เรียนให้ไต่ระดับไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องไปด้วยกันตั้งแต่ต้นจนจบ
 
ข้อควรทราบและพึงระวังเกี่ยวกับหนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น สำหรับการสอบบาลีสนามหลวง ประโยค 1-2
           ข้อควรทราบและพึงระวังคือ หนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น มหาบาลีวิชชาลัย (ที่ตีพิมพ์แล้ว) นั้น เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไปผู้เริ่มต้นสนใจเรียนภาษาบาลี แต่ไม่เหมาะสำหรับ (พระภิกษุสามเณรและฆราวาส) ผู้จะสมัครเข้าสอบบาลีศึกษา/บาลีสนามหลวง ชั้นประโยค 1-2 เพราะถ้าเอาเนื้อหาในหนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นนี้ไปสอบวิชาบาลีสนามหลวงชั้น ประโยค 1-2 อาจทำให้สอบตกได้ทันที เนื่องจากเนื้อหาบาลีในหนังสือนี้มีข้อที่แตกต่างกันในหลาย ๆ จุดกับหนังสือที่ใช้สอบบาลีสนามหลวง แต่สำหรับผู้เรียนบาลีระดับประโยค ป.ธ.3 ขึ้นไปแล้ว สามารถศึกษาหนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นนี้เพื่อเสริมความรู้ทางไวยากรณ์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้
 
ถามว่า“หนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น ของมหาบาลีวิชชาลัย” ทำให้เกิดความสับสนแก่คนที่สนใจเรียนภาษาบาลีและวงการบาลีคณะสงฆ์ไทยหรือไม่ ?

ตอบว่า “ความสับสนอาจมีบ้าง แต่ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกิดความสับสนเช่นนั้น  เนื่องจากหลักสูตรได้ออกแบบไว้เป็น 3 ระดับดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น ดังนั้น หนังสือไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นนี้ เป็นการปูพื้นความรู้บาลีในชั้นเริ่มต้นเพื่อส่งต่อไปสู่การเรียนภาษาบาลีในระดับกลางและระดับสูงต่อไป ส่วนหนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีสนามหลวงประโยค 1-2 นั้น ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อนำไปสู่การเรียนภาษาบาลีในระดับกลางและสูงแบบนี้ เนื้อหา จึงย่อมแตกต่างกัน


ถามว่า “แล้วจะถืออะไรเป็นเกณฑ์ว่า หลักไวยากรณ์บาลีที่แท้ควรเป็นอย่างไร”
ตอบว่า “ไวยากรณ์บาลีสนามหลวงดึงเนื้อหามาจากคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณดั้งเดิม (มูลกัจจายน์) เอามาแบบย่อ ๆ เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย (ขณะนั้น/สมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณโรรสปรับปรุงการศึกษาคณะสงฆ์) จึงเป็นไวยากรณ์ฉบับที่ย่อมากและไม่มีการเรียนต่อยอดไปสู่การศึกษาไวยากรณ์บาลีแบบดั้งเดิมอีก
       ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น มหาบาลีวิชชาลัย ก็ดึงเนื้อหามาจากคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณดั้งเดิมเช่นกัน โดยอิงตามปทรูปสิทธิ แต่รายละเอียดกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์จะมีมากกว่าหนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีสนามหลวง เพราะมุ่งเน้นปูพื้นฐานให้ง่ายต่อการเรียนภาษาบาลีในระดับกลางและสูงต่อไปได้ดี
 
      ถ้าจะเอาเกณฑ์ทางไวยากรณ์แล้ว เราก็ควรยึดเอาตามคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณดั้งเดิมที่ประเทศเถรวาทถือสืบทอดต่อเนื่องกันมา คือ ปทรูปสิทธิ โมคคัลลานะ สัททนีติปกรณ์ ฯลฯ เป็นหลัก ส่วนหนังสือบาลีไวยากรณ์ต่าง ๆ ที่เรียบเรียงขึ้นในภายหลัง ก็ควรคล้อยไปตามไวยากรณ์ดั้งเดิมนั้น ไม่ควรมีอะไรที่ผิดแผกต่างออกไป  เพราะจุดมุ่งหมายและประโยชน์ที่แท้จริงของการเรียนไวยากรณ์บาลีคือเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับแปลพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อเรียนแล้วสอบได้ระดับชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น
 
ถามว่า “ถ้าอย่างนั้น จะเรียนบาลีหลักสูตรไหน จึงจะเหมาะ”
ตอบว่า “ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว คณะสงฆ์ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียนบาลีสนามหลวงให้เป็นฐานส่งต่อผู้เรียนให้ไปเรียนคัมภีร์ไวยากรณ์ดั้งเดิมได้แบบง่าย ๆ จะเหมาะสมที่สุด เพราะปัจจุบันตำราเรียนคัมภีร์ไวยากรณ์แบบดั้งเดิมนั้นมีการตีพิมพ์มากมายแล้ว หาได้ง่ายแล้ว ไม่ใช่จะหาได้ยากเหมือนสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ อาจารย์ผู้สอนที่ชำนาญในคัมภีร์ไวยากรณ์ดั้งเดิมก็พอหาได้อยู่ และมีสื่ออุปกรณ์ทันสมัยช่วยให้เรียนกันได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากแล้ว แต่คณะสงฆ์ไทยก็ยังไม่ปรับปรุงทั้งหลักสูตรทั้งระบบการเรียนการสอนบาลีและ ฯลฯ 
          ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธผู้สนใจเรียนบาลีเองว่า เมื่อจะเริ่มต้นเรียนภาษาบาลีจะเลือกเรียนแบบใด
          1. เรียนหลักสูตรบาลีสนามหลวง เพราะมีการเรียนการสอนแพร่หลาย มีมานานร่วมร้อยปีแล้ว เมื่อเรียนแล้วสอบได้ ก็จะได้เป็น “มหา” มีการเทียบวุฒิเทียบขั้นให้
           2. เรียนหลักสูตรภาษาบาลีเบื้องต้นของมหาบาลีวิชชาลัยและเรียนคัมภีร์บาลีแบบโบราณดั้งเดิมเถรวาท เรียนจบแล้วไม่ได้ชื่อว่า “มหา” แต่เรียนแล้วจะมีความรู้เพื่อศึกษาและแปลพระไตรปิฎกบาลีได้ดี
 
        ผู้เรียนต้องสรุปด้วยตนเอง ถ้าคิดว่ายังต้องการเป็น “มหา” เรียนจบแล้วมีวุฒิรองรับ ก็สมัครเรียนบาลีสนามหลวง จะเหมาะสมที่สุด  แต่ถ้าคิดว่า การเรียนบาลียังมีอะไรที่มากกว่าคำว่า “มหา” อยากจะเข้าใจภาษาบาลีแบบลึกซึ้ง ก็เลือกเรียนบาลีคัมภีร์โบราณดั้งเดิมจะเหมาะกว่า

        ดาวน์โหลด หนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น มหาบาลีวิชชาลัย คลิกที่นี่



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2556 | อ่าน 10798
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15905
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39812
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9423
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10333
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13720
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5860
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8280
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10824
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5750
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5628
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)