นิมนต์พระสงฆ์ร่วมแรงร่วมใจทำให้ชาวบ้านเรียนบาลีเป็นประเพณี


มหาบาลีวิชชาลัย ได้เริ่มต้นโครงการชวนชาวไทยเรียนบาลีเป็นประเพณี ตั้งแต่ปีที่แล้ว และปีนี้กำลังเดินหน้าต่อไป ในโอกาสนี้ขอถือโอกาสนิมนต์พระสงฆ์ พระเถระ พระสังฆาธิการตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศร่วมแรงร่วมใจช่วยทำให้ชาวบ้านได้เรียนบาลีเป็นประเพณี

จะเปิดสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้านได้อย่างไร
ง่าย ๆ เลยเพียงมีพระสงฆ์ผู้มีศรัทธาและความสามารถ พูดคุยและช่วยกันในระดับอำเภอหรือจังหวัด หารือกัน ช่วยกันเปิดห้องเรียนบาลีสำหรับชาวบ้านขึ้น

ไม่ต้องแข่งขันกัน แต่ร่วมแรงร่วมใจวางแผนทำงานร่วมกัน ทำงานเป็นทีม
เริ่มต้นแบบกว้าง ๆ คือมองดูในระดับอำเภอหรือจังหวัด แบ่งกันทำงาน คิดเป็นสัดส่วนห้องเรียนบาลีต่อประชากรไทย คือกลุ่มชาวพุทธ  3 แสนคน ก็เปิดห้องเรียนบาลี 1 ห้องเรียน นั่นหมายความว่า จังหวัดใดมีประชากร 6 แสนคน พระสงฆ์ในจังหวัดนั้น ต้องเปิดห้องเรียนบาลีสำหรับชาวบ้าน 2 ห้องเรียน เริ่มต้นกว้าง ๆ แบบนี้ ระยะต่อไปค่อยขยับหรือเพิ่มห้องเรียนขึ้น เช่น 1 ห้องเรียนบาลี ต่อประชากร 2 แสนคน

ต้องก้าวข้ามความคิดเดิม ๆ ที่ฝังแน่นอยู่ในหัวให้ได้ 
เช่น “จะมีคนเรียนเร้อ บาลีนี่ ขนาดพระยังไม่ค่อยเรียนกันเลย แล้วญาติโยมจะมาเรียนหรือ?,
โยมมาเรียนบาลีจะได้ประโยชน์อะไร ไปเรียนวิชาชีพทำงานหาเงินดีกว่ามั้ง, บาลีเป็นเรื่องของพระ ส่วนโยมมีหน้าที่หาเงินมาทำบุญ..ฯลฯ

ต้องมองไปข้างหน้า มองไกล ๆ มองยาว ๆ
เช่น ปี พ.ศ. 2600 สถานการณ์วัด สถานการณ์พระพุทธศาสนา สถานการณ์เรียนบาลีของคนไทยจะเป็นอย่างไร การเริ่มต้นสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้านในปีนี้ จะเกิดผลดีอย่างไรต่อประเทศชาติและพระศาสนาในระยะยาว 

ต้องกล้าปรับเปลี่ยน กล้าที่จะเปลี่ยนวิธีการสอน
วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้บาลีแบบที่สอนพระเณรกันเองนั้น ไม่เหมาะกับชาวบ้าน ดังนั้น เมื่อต้องสอนบาลีให้ชาวบ้านญาติโยม ต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก ต้องเตรียมการให้มาก ต้องวางแผนให้ดี อย่าสอนตามความเคยชินแบบที่สอนพระเณร เพราะมันชวนเบื่อหน่ายและจะไล่คนเรียนหายไปทีละคนสองคนแบบไม่รู้ตัว

ต้องกล้าปรับเปลี่ยน กล้าที่จะเปลี่ยนวิธีการบริหาร
การพูดจากับญาติโยมแบบถือยศถือศักดิ์วางอำนาจ ถือว่าตนเองเป็นเจ้าคุณ เป็นพระผู้ใหญ่ เป็นพระผู้ปกครองชั้นสูงนั้น มันไม่เข้ากับยุคสมัยนานแล้ว พระสังฆาธิการที่มีอำนาจปกครองคณะสงฆ์ (ตามกฏหมาย) ต้องกล้าปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการการบริหารวัดตนเอง การพูดคุยกับพระเณรในสังกัด การจัดการวัดแบบอำนาจนิยม  (แบบความคิดของฉันเท่านั้น พระรูปอื่น ๆ ต้องฟังฉัน) นั้น ไม่ได้สร้างศรัทธา ไม่สามารถดึงความร่วมแรงร่วมใจจากใคร ๆ ได้อย่างลึกซึ้งและจริงจังเลย มิหนำซ้ำกลับจะผลักไสพระหนุ่ม ๆ ที่มีความรู้ความสามารถทั้งหลายให้เอือมระอาเบื่อหน่ายวงการคณะสงฆ์ลาสิกขาหนีไปเสียอีก

ต้องกล้าปรับเปลี่ยน กล้าที่จะเปิดสอนบาลีให้ชาวบ้าน
หากพระผู้ใหญ่ในอำเภอหรือจังหวัดท่านไม่สนใจเปิดสอนบาลีให้ชาวบ้าน พระหนุ่ม ๆ ในจังหวัดก็คุยกันให้ดีแล้วก็เปิดสอนได้เลย ไม่ต้องไปรอพระผู้ใหญ่ อย่าไปคิดว่านี่เป็นการล้ำหน้าหรือข้ามหน้าข้ามตาไม่ให้เกียรติใคร (ถ้าพระผู้ใหญ่ท่านไม่สนใจทำหรือทำไม่ได้ ท่านก็ควรอุดหนุนควรอุปถัมภ์ส่งเสริม ไม่ใช่ทำเป็นเฉย) อย่าไปเกรงกลัวว่าจะกระทบกับตำแหน่งปกครอง กระทบต่อการเลื่อนขั้นสมณศักดิ์พัดยศใด ๆ อย่าไปใส่ใจ ให้มองข้ามเรื่องพวกนี้แล้วเดินหน้าเปิดสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้านได้เลย

การทำให้ชาวบ้านเขามีความรู้มีปัญญาเข้าถึงพระธรรมคำสอนนั่นแหละคือสิ่งมีค่าที่สุดแล้ว ส่วนสมณศักดิ์หรือตำแหน่งปกครองเป็นเพียงหัวโขนที่มาชั่วคราวก็ต้องละทิ้งไปกันทุกราย พวกใบตราตั้งพวกตาลบัตรพัดยศเมื่อเจ้าของลาโลกแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจสักเท่าไหร่ นอกจากปล่อยให้ฝุ่นเกาะให้เก่าคร่ำคร่าไป นานเข้าเขาก็เอาไปทิ้งอยู่ดี  ดังนั้นอย่าให้เรื่องสมณศักดิ์เรื่องตำแหน่งปกครองมาขัดขวางการเปิดสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้าน ข้ามไปให้ได้ อย่าสะดุด อย่าหวั่นเกรง

จงคิดหาหนทาง หาวิธีการ สร้างเครื่องมือ เตรียมอุปกรณ์เพื่อช่วยให้ชาวบ้านที่มาเรียนบาลีได้สัมผัสว่า “การเรียนบาลีนั้น เป็นสิ่งง่าย ๆ ไม่ได้ยาก และเรียนสนุกด้วย"  และต้องทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้เขาเรียนบาลีเข้าใจเร็วที่สุด

จะเปิดสอนภาษาบาลี จะใช้หลักสูตรอะไรดี
หลักสูตรอะไรก็ได้ที่ท่านถนัด หลักสูตรบาลีไวยากรณ์สนามหลวงก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ผู้เรียนไปสอบบาลีสนามหลวง เน้นให้ญาติโยมได้เรียนและมีความรู้เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมส่วนตัวก็พอ จะทำให้การเรียนไม่เครียดและผู้เรียนก็อยากจะศึกษาค้นคว้าไม่สิ้นสุด 

จะเปิดสอนบาลีให้ชาวบ้านเมื่อไหร่
พร้อมเมื่อไหร่ก็เปิดเมื่อนั้น แต่จุดเริ่มต้นที่ดีคือเริ่มช่วงเข้าพรรษาคือเปิดสอนเดือนสิงหาคม 2556 เป็นต้นไปเลย  หากเริ่มเตรียมการวันนี้ มีเวลาเหลือเฟือสำหรับเตรียมการสอน

จะเปิดสอนยาวนานแค่ไหน
กำหนดคร่าว ๆไว้ก่อน ให้ชาวบ้านได้เรียนภาษาบาลีเบื้องต้นอย่างน้อยที่สุดคนละ 450-600 ชั่วโมง เลือกเอาว่า สัปดาห์หนึ่ง จะเปิดสอนกี่วัน จะเปิดสอนวันไหนบ้าง  

ไม่รู้จะเริ่มต้นได้อย่างไร
หากท่านยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ให้ติดต่อมาที่มหาบาลีวิชชาลัยทันที หนทางจะเปิดกว้างได้เร็ว มหาบาลีวิชชาลัยมีความยินดีให้ความช่วยเหลือทุกประการ ทั้งวิธีการจัดการ การวางแผนการสอน การจัดซอยเนื้อหา การเตรียมสื่ออุปกรณ์ ตำรา  การหาผู้เรียนและ ฯลฯ

อย่ารอแค่ “สอนบาลีให้พระภิกษุสามเณรก็พอแล้ว” 
หากพระสงฆ์คิดแค่ว่า “รอสอนภาษาบาลีให้พระภิกษุสามเณร" ก็พอ  ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า คนไทยบวชเรียนกันน้อยลง บวชกันระยะสั้น ๆ เท่านั้น และสนใจเรียนบาลีน้อยลงเรื่อย ๆ สถิติสอบผ่านบาลีก็ถดถอยลงเรื่อย ๆ” การคิดและรอสอนบาลีให้แค่พระเณรแบบนี้ เป็นการมองข้ามชาวพุทธกลุ่มใหญ่กว่า 50 ล้านคน เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก

ต้องเข้าใจว่า ชาวพุทธไทยที่อยากเรียนบาลีนั้นมีมาก ทำไมไม่เปิดห้องเรียนสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้าน เริ่มต้นแบบเล็ก ๆ ในชุมชน ตำบล หรืออำเภอตนเอง ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย เรียนใต้ร่มไม้ก็ได้ กางเต้นท์เรียนก็ได้ เรียนในศาลาการเปรียญก็ได้  เรียนข้างวิหารก็ได้ ไม่ต้องไปลงทุนสร้างอาคารเรียนให้เสียเงินเสียทองอะไรเลย

ขอนิมนต์พระสงฆ์ไทย จงเร่งรุดตื่นตัว ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมใจกันสอนภาษาบาลีให้ชาวบ้านกว่า 50 ล้านคนซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ ทำให้ประเทศนี้สมกับที่คนเรียกว่า “ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลก”

จงช่วยกันทำให้ชาวบ้านได้เรียนบาลีเป็นประเพณี ร่วมกันสร้างปัญญาบารมีให้เป็นเอกลักษณ์ชาวพุทธสมกับแผ่นดินพระพุทธศาสนาด้วยกัน 

มหาบาลีวิชชาลัยเริ่มต้นแล้ว จังหวัดของท่านจะเริ่มต้นเมื่อใด รีบเลย จะช้าอยู่ใย มาทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกัน ช่วยกันทำให้คนไทยได้เรียนบาลีเป็นประเพณีให้ได้ 



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2556 | อ่าน 5836
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15906
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39813
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9423
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10334
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13720
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5860
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8280
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10824
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5750
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5628
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)