พระเบื่อเรียนบาลี จะทำอย่างไร


พระภิกษุสามเณร เมื่อเรียนบาลีนาน ๆ เข้า บางครั้งก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนภาษาบาลีได้ อันนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว จะต้องหาทางแก้ไข

ความเบื่อหน่ายเรียนบาลีเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายนอกคือระบบการเรียนการสอนภาษาบาลี หลักสูตร กติกาการสอบ การวัดผล ฯลฯ และปัจจัยภายในคือตัวผู้เรียนเอง ที่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ มองไม่เห็นเป้าหมายความสำเร็จ โดยเฉพาะท่านที่สอบตกซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลายรอบหลายครั้ง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนภาษาบาลีได้เช่นกัน เช่น วัดที่มีงานมาก ต้องคอยต้อนรับญาติโยมไม่ขาด  เพื่อนพระภิกษุสามเณรด้วยกันที่สนใจเรื่องอื่น ๆ หรือแม้แต่เจ้าอาวาสที่ไม่มีอุบายจูงใจให้เรียน

เมื่อเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายเรียนบาลี  ควรทำอย่างไร

ถ้าเป็นเรื่องปัจจัยภายนอกคือระบบการเรียนการสอนภาษาบาลี หลักสูตร กติกาการสอบ การวัดผล ฯลฯ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินไป เราไม่สามารถจะไปทำอะไรได้ นอกจากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเป็นผู้หาวิธีการปรับปรุงแก้ไข ดังนั้นสิ่งที่เราจะแก้ไขได้คือในส่วนตัวเราเอง เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเรียนบาลีขึ้น เราควรทำอย่างไร มีคำแนะนำดังนี้

1. ลองดูวิธีง่าย  ๆ ก่อนคือพิจารณาดูที่ตัวเราเองว่า บวชมาทำไม การเรียนภาษาของพุทธเจ้านี้ดีอย่างไร คนส่วนมากไม่ได้บวชและไม่มีโอกาสได้เรียนบาลีเลยนะ แต่เราได้บวชแล้ว จึงควรเรียน ต้องเรียนและต้องเรียนให้ได้ ไม่ชอบก็ต้องทำให้ชอบ ไม่สนใจก็ต้องทำให้สนใจ เบื่อก็ต้องเอาชนะมันให้ได้ ตั้งใจท่องหนังสือ ตั้งใจแปล ตั้งใจแต่ง เรียนบาลีไป

2.  เมื่อได้ทำตามข้อ 1 เต็มที่แล้ว แต่ก็ยังมีความเบื่อหน่าย ขี้เกียจอ่าน ขี้เกียจศึกษาค้นคว้า ไม่อยากเรียนบาลีเลย จะทำอย่างไร

ขอแนะนำให้ไปเที่ยว ไปเยี่ยมและให้กำลังกลุ่มคนในสถานที่เหล่านี้คือ บ้านเด็กอ่อนพญาไท บ้านเมตตา ไปดูเด็กเล็ก ๆ ที่กำลังเติบโต ไปโรงพยาบาลสงฆ์ไปให้กำลังใจหลวงน้าหลวงตาที่กำลังรักษาอาพาธด้วยโรคต่าง ๆ ไปเยี่ยมบ้านพักคนชรา ฯลฯ การไปดูความเป็นอยู่ของคนหลากหลายกลุ่ม จะทำให้เราได้แง่คิดและตื่นตัวว่า เรายังสุขภาพแข็งแรงดี น่าจะตั้งใจเรียนได้ดี เมื่อกลับมาแล้ว ให้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเต็มสุดกำลัง ขจัดความเบื่อหน่ายความฟุ้งซ่านออกไปให้ได้       

ได้ลองทำตาม 2 ข้อข้างบนเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียนบาลีอยู่ดี จะทำอย่างไร มาลุยตามข้อ 3 เลยครับ พระภิกษุหลายรูปได้ผลจากวิธีนี้

3. ให้ท่านเลิกเรียน เลิกท่องชั่วคราว  7 วัน ย้ายตัวเองออกจากวัดที่อยู่ในปัจจุบันแล้วไปอยู่ในวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติที่เข้มข้น เช่น วัดในสายหลวงปู่ชา หรือวัดภัททันตะอาสภาราม ชลบุรี ที่ไหนที่เขาว่าปฏิบัติเข้มข้นที่สุด ไปที่นั่นเลย ไปเจริญวิปัสสนาภาวนา ตื่นเช้ามืดตี 4 และเข้าจำวัตรตอน 4 ทุ่มทุกวัน เน้นเจริญสติอยู่กับปัจจุบันทุกขณะ กำหนดบัลลังก์ให้เหมาะสม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาทีละนิด เช่นวันที่ 1 นั่งสมาธิ 30 นาทีแล้วเดินจงกรม 30 นาที นั่งสมาธิ 30 นาที เดินจงกรม 30 นาที ต่อเนื่องไปตลอดทั้งวัน เว้นเฉพาะเวลาฉันและทำกิจส่วนตัวเท่านั้น ทำต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเวลานอน วันต่อ ๆ มาค่อย ๆ เพิ่มบัลลังก์ละ 1 ชั่วโมง  2 ชั่วโมง ทำให้ต่อเนื่องไม่หยุดไม่ถอย และเข้าพบพระวิปัสสนาจารย์ทุกวัน

เมื่อครบกำหนด 7 วันแล้ว ลองมาพิจารณาดูตัวท่านในเรื่องเหล่านี้ให้จริงจังและตอบคำถามให้ได้ ให้แจ่มชัดที่สุด
1.  เราเกิดมานานเท่าไหร่แล้ว ครอบครัวญาติพี่น้องลูกหลานเราเป็นอยู่กันอย่างไร
2.  เราบวชนานเท่าไหร่แล้ว บวชมาทำไม
3.  ถ้าไม่มีคนเรียนภาษาบาลีภาษาของพระพุทธเจ้านี้เลย ศาสนานี้จะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้คนก็เรียนบาลีน้อยอยู่แล้ว ถ้าเราไม่เรียนอีก ก็ยิ่งน้อยเข้าไปอีก ใครจะสืบทอดองค์ความรู้ตรงนี้ อีก 20 ปี 30 ปี 40 ปี 50 ปี ถัดไป ใครจะสอนบาลีได้
4.  เราจะมาเบื่อเรียนทำไม จะมาขี้เกียจเรียนทำไม ในเมื่อได้บวชมาแล้ว

เมื่อได้คำตอบที่แจ่มชัดแล้ว ให้กลับมาตั้งใจเรียนบาลีใหม่ ตั้งใจท่องหนังสือใหม่ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มยิ่งขึ้น ฝึกให้เกิดทักษะให้คล่องแคล่ว ตั้งใจเรียนและสอบไปตามระบบจนจบชั้นสูงสุดให้ได้

และในเวลาต่อมา หากยังเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายอีก ทนเรียนต่อไปไม่ได้แล้ว แนะนำให้ไปอยู่สำนักปฏิบัติใหม่ คราวนี้อยู่ทีละ 1 เดือน ขยายไป 3 เดือน เพื่มเป็น 6 เดือน  และ 1 ปี อยู่ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ  จนกว่าจะสามารถจัดการกับความเบื่อหน่าย ความไม่สนใจเรียนของตนเองได้แล้ว จึงค่อยมาเรียน

เมื่อท่านได้ลองทำตามที่แนะนำทั้ง 3 ข้อเต็มที่สุดความสามารถแล้ว ใจมันก็ยังไม่เอา ไม่สนใจเรียน ยังเบื่อหน่ายเรียนบาลีอยู่อีก จะทำอย่างไร

ขอแนะนำว่า ให้รีบลาสิกขาออกไปทำงานรับจ้างเลยดีกว่าครับ ไปใช้แรงงานดีกว่า ไปมีเมีย มีลูกดีกว่า  วัดจะได้มีกุฏิว่างสำหรับคนที่เขาตั้งใจบวช ได้มาอาศัยอยู่เรียนบ้าง



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2555 | อ่าน 9238
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15904
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39810
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9422
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10330
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13718
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5860
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8280
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10824
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5750
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5627
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)