บันไดสู่ความสำเร็จในการเรียนบาลี


การจัดการเวลาให้กับการเรียนบาลีเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ผู้เรียนบาลีต้องจัดการให้ตัวเองให้ได้ มีให้หลักการง่าย ๆ ที่ควรพิจารณาดังนี้

1. การอ่าน การศึกษา การค้นคว้าบาลีนั้น ไม่ต้องรีบร้อน ให้ใจเย็น ๆ พยายามทำความเข้าใจในแต่ละเรื่องที่ศึกษาให้มากที่สุด เมื่อเข้าใจแล้วหาวิธีบันทึกความเข้าใจนั้นไว้ อาจบันทึกลงกระดาษ หรือประทับลงหน่วยความจำของจิต

2. การใช้เวลากับตำราหรือสื่อการสอนภาษาบาลีนั้น ไม่ต้องมากมาย สักวันละ 30 นาที - 2 ชั่วโมงก็พอ แต่ขณะเวลานั้นให้ทุ่มความตั้งใจสูงสุดทันที ไม่ฟุ้งซ่านเรื่องอื่นใด และทำให้ต่อเนื่องเป็นกิจวัตร

3. บางคนคงมีประสบการณ์อันน่าเบื่อหน่ายกับการเรียนและการสอบแข่งขันตั้งแต่ประถม ทำไมต้องเรียนอะไรแบบนี้.... ไม่อยากเรียน .....เบื่อหน่าย.....อยากหนีจากโลกการเรียน... (ก็มี)

การสะสมสภาพการเรียนอันน่าเบื่อหน่ายในระบบโรงเรียนจากประถม สู่มัธยม และปริญญาตรี ทำให้นักเรียนไทยจำนวนไม่น้อยมีความทุกข์ในการเรียนและระบบโรงเรียนอย่างมาก พอเรียนจบก็รู้สึกเหมือนหมดทุกข์ และไม่คิดอยากไปเรียนแบบนั้นอีกเลย

นี่แสดงว่า วิธีการเรียนแบบนั้น ไม่ใช่วิธีการเรียนที่ดี และทำให้คนหนีออกห่างจากการค้นคว้า ไม่ชอบเรียนรู้ ไม่อยากเรียนต่อ แต่จำเป็นต้องเรียนเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาชีพเท่านั้น

อุปนิสัยชอบเรียนรู้แบบต่อเนื่องไม่มี วิธีการให้ผู้เรียนได้รู้จักพัฒนาการของตนเองและเพ่งดูความก้าวหน้าในการหาความรู้ของตนเองไม่มี นี่จึงไม่ใช่การเรียนรู้อย่างมีความสุข ความสนุกในการเรียนการค้นคว้าก็ไม่เกิด ซึ่งเป็นลักษณะของคนทั่วไปส่วนมากในประเทศนี้

ทำอย่างไร จึงจะเรียนรู้บาลีอย่างมีความสุข เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ดังนี้

1. การเรียนบาลีนี้ เน้นให้ผู้เรียนรู้จักความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของตนเอง (แต่ละคน)

2. ไม่มีการแข่งขัน (เพราะไม่รู้จะแข่งขันไปทำอะไร)

3. ถือว่าทุกคน ช่วยกันศึกษาหาความรู้ และช่วยกันแบ่งปันความรู้ใหัเพื่อน ๆ ไม่หวงความรู้ ไม่มีความต้องการอวด โชว์ใคร หรือข่มใคร

4. เมื่อได้รับความรู้ใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากสิ่งที่เราเคยรู้มา หรือตำราหลายเล่มที่แตกต่างกัน ยังไม่ต้องรีบสรุปว่า อะไรถูก อะไรผิด ให้กำหนดความแตกต่างไว้แล้วค่อยตรวจสอบในระยะยาว

5. ใจกว้าง พร้อมรับฟังคำวิจารณ์ คำเสนอแนะจากทุกคน และมีเมตตาที่จะช่วยแนะนำคนอื่นเมื่อเห็นว่า สิ่งที่เขาได้รู้มายังไม่ตรงนัก

6. มรณานุสติกรรมฐานช่วยให้เราไม่ประมาท เพียงคิดง่าย ๆ ว่า ชีวิตคนเราไม่ได้ยืนยาวอะไรนัก อีกไม่กี่ปี ไม่กี่สิบปีก็ต้องลาลับจากโลกนี้กันไปแล้ว และ...

โอกาสที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ยากแสนยาก
โอกาสได้เกิดมาในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา นี้ก็ยากแสนยากมาก
โอกาสที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธแล้ว และได้มาเรียนรู้ภาษาบาลีภาษาของพระพุทธเจ้า นี้ก็ยากแสนยาก

ลองมองดูคนทั่วไปในโลกนี้ แต่ละวันเขายุ่งอยู่กับอะไร วันเวลาของเขาหมดไปกับอะไร
แต่คุณมีโอกาสและมีความสามารถจัดการเวลาให้ตนเองมาเรียนภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าได้ แสดงว่าคุณเก่งมากเลยทีเดียว
คุณจึงเป็นคนกลุ่มน้อยเพียงไม่กี่คนที่มีโอกาสเช่นนี้ และโอกาสนี้คุณเป็นผู้สร้างและหาให้ตนเอง ถือว่าเป็นการสร้างวิริยะบารมี ขันติบารมี และปัญญาบารมี โดยไม่มีใครบังคับ

ถ้าคุณอ่านหนังสือบาลีแล้วรู้สึกยาก นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่
อ่านต่อไป ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ ทำความเข้าใจ ทบทวน ไตร่ตรองหลาย ๆ รอบ หลาย ๆ เล่ม หลาย ๆ สื่อ

ลองคิดถึงพระมหาเถระรุ่นเก่า ๆ ที่ท่านแบ่งทีมกันท่องจำคำพระบาลีไว้เพื่อส่งต่อมาให้อนุชนรุ่นพวกเรา
คิดถึงพระเถระรุ่นเก่า ๆ บางท่าน ศึกษาพระไตรปิฎกจบ 30-40 รอบ บางท่านท่องจำพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด

ศักยภาพทางสมองและพลังจิตของคนเรานั้น มีมหาศาล อยู่ที่ใครจะพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์ได้มากได้น้อย

ถ้าคุณเชื่อมั่นในพุทธพจน์นี้ "ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ คนเราสามารถฝึกอบรมได้ และจะดีได้ด้วยการฝึกอบรม" แล้ว ในโลกนี้ จะไม่มีอะไรมากวางกั้นการพัฒนา การฝึกอบรม การเรียนรู้ภาษาบาลีของคุณได้เล

สิ่งสำคัญ คุณต้องหาวิธีให้ตัวเองมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาบาลีให้ได้ นี่คือบันไดสู่ความสำเร็จในการเรียนภาษาบาลี



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2555 | อ่าน 13669
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15895
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39794
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9414
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10319
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13709
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5851
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8277
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10814
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5748
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5626
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)