เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย


เรื่องเรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย


(เรื่องเหล่านี้ ทั้งผู้ไปจาริกแสวงบุญ บริษัททัวร์ หัวหน้าคณะ หรือแม้แต่พระไทยที่อยู่ประจำ ณ เมืองนั้น ๆ ควรพิจารณาและสร้างเกณฑ์แนะนำเป็นหลักปฏิบัติร่วมกัน) ทั้งนี้ เพื่อรักษาโบราณมรดกเหล่านี้ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด ให้คงอยู่ยาวนานเพื่อให้อนุชนภายหน้าได้ศึกษาเรียนรู้ได้ดีที่สุด
 
1. #‎การขีดเขียน การขูด การระบายสีหรือทำให้เป็นร่องรอยในโบราณสถานที่ต่าง ๆ ไม่ควรกระทำเลย ไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ควรอยากอวดโชว์ หรือแสดงความมีตัวตนให้โดดเด่นว่า ฉันได้มาถึงสถานที่เหล่านี้แล้ว
 
2. #‎เงินเหรียญ เงินธนบัตร หรือโลหะวัตถุมงคลต่าง ๆ ไม่ควรโยน หรือโปรยลงในบริเวณโบราณสถานโบราณวัตถุ แม้ว่าสิ่งนี้ เราจะเชื่อว่า เป็นการบูชาพระคุณอันยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม เพราะเงิน เหรียญ โลหะต่าง ๆ อาจมีส่วนทำให้เกิดรอยบิ่น บุบ หรือเป็นขยะสกปรกสะสมได้ ถ้าอยากบูชาด้วยเงินจริง ๆ ควรเก็บเงินเหล่านั้นไปถวายพระที่วัดต่าง ๆ จะดีที่สุด
ภาพหนุ่มสาววัยรุ่น เสี่ยงทายดวงชะตาโชคลาภความรัก ด้วยการอธิษฐานโยนเหรียญขึ้นแล้วขึ้นเล่าไปยังยอดเสาอโศก (เสาหัวสิงห์ อีกโบราณมรดกที่ทรงคุณค่า) ภาพน่ารัก ๆ นี้ อาจทำให้เรารู้สึกเอ็นดูและลุ้นให้หนุ่มสาวสมหวังในสิ่งที่ปรารถนา แต่เหรียญเจ้ากรรมอันไร้วิญญาณนั้น จะกระเทาะ กระแทก ขูดแซะเสาหินอโศกให้เสื่อมสภาพไปเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
 
3. #‎น้ำหอม แม้ว่าเราอยากบูชาเทิดทูนพระบรมศาสดาด้วยของหอมปานใด แต่ก็ไม่ควรนำน้ำหอมไปฉีด หรือหยดใส่โบราณสถาน หรือพระพุทธปฏิมาต่าง ๆ เพราะสารเคมีจากน้ำหอม อาจมีส่วนกัดกร่อนซากอิฐปูนให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นได้
 
4. #‎แผ่นทอง สิ่งนี้ ชาวไทยจะนิยมกันมากกว่าทุกชาติ และดูเหมือนไม่มีการบอกกล่าวตักเตือนกันเลย เราอาจเคยชินเวลาไปวัดในประเทศไทย ชอบปิดทองพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่สำหรับโบราณสถานแล้ว ทั้งพระพุทธปฏิมา อิฐเจดีย์ ถ้ำ หรือภูเขาต่าง ๆ เราควรงดเว้น ไม่ต้องปิดทอง ไม่ต้องเอาแผ่นทองไปเลย ยิ่งดี
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการปิดทองใด ๆ
 
5. #‎ธูปเทียน ต้องเลือกจุดบูชาในที่ที่มีเชิงรับเทียนหรือมีกระถางธูปเท่านั้น อย่าไปจุด ตั้ง หรือเสียบตามช่องอิฐในโบราณเจดีย์ใด ๆ
หลาย ๆ ที่มีรอยดำจากควันไฟควันธูปเทียน
หรือจะไม่นำธูปเทียนไปบูชาเลย ก็ดีเช่นกัน เพื่อให้มีผลกระทบกับโบราณสถานให้น้อยที่สุด
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ศรัทธาในพระสัทธรรมอย่างแน่นแฟ้น ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการบูชาด้วยธูปเทียนใด ๆ
 
6. #‎ดอกไม้ ควรบูชาในที่เหมาะสมเท่านั้น ควรมองหาที่ ๆ วางบูชาแล้ว ไม่มีผลกระทบกับโบราณสถาน ถ้าวางดอกไม้แล้ว จะกลายเป็นการสะสม หมักหมมเชื้อรากัดกร่อนอิฐปูน ไม่ควรวาง หรือไม่นำไปบูชาเลย
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ศรัทธาในพระสัทธรรมอย่างแน่นแฟ้น ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการบูชาด้วยดอกไม้ใด ๆ
 
ขออภัย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เสนอไว้เพื่อให้สังคมชาวพุทธได้พิจารณา ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่หรือกระทบใคร

ถ้าหากเห็นว่าสิ่งที่เสนอนี้มีประโยชน์ ก็ได้โปรดช่วยกันบอกกล่าว แนะนำ และสรุปนำไปเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อรักษาโบราณมรดกเหล่านี้ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด ให้คงอยู่ยาวนานเพื่อให้อนุชนภายหน้าได้ศึกษาเรียนรู้ในสภาพที่ดีที่สุด แต่หากเรายังเคยชินกับพฤติกรรมดังว่ามาแล้ว เชื่อว่า โบราณสถานต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะหมดสภาพไปใน 100-200 ปีข้างหน้านี้เป็นแน่แท้
 
ถ้าหากเห็นว่าสิ่งที่เสนอนี้มีประโยชน์ ก็ได้โปรดช่วยกันบอกกล่าว แนะนำ และสรุปนำไปเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อรักษาโบราณมรดกเหล่านี้ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด ให้คงอยู่ยาวนานเพื่อให้อนุชนภายหน้าได้ศึกษาเรียนรู้ในสภาพที่ดีที่สุด แต่หากเรายังเคยชินกับพฤติกรรมดังว่ามาแล้ว เชื่อว่า โบราณสถานต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะหมดสภาพไปใน 100-200 ปีข้างหน้านี้เป็นแน่แท้ที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
(เรื่องเหล่านี้ ทั้งผู้ไปจาริกแสวงบุญ บริษัททัวร์ หัวหน้าคณะ หรือแม้แต่พระไทยที่อยู่ประจำ ณ เมืองนั้น ๆ ควรพิจารณาและสร้างเกณฑ์แนะนำเป็นหลักปฏิบัติร่วมกัน)
ทั้งนี้ เพื่อรักษาโบราณมรดกเหล่านี้ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด ให้คงอยู่ยาวนานเพื่อให้อนุชนภายหน้าได้ศึกษาเรียนรู้ได้ดีที่สุด
 
1. #‎การขีดเขียน การขูด การระบายสีหรือทำให้เป็นร่องรอยในโบราณสถานที่ต่าง ๆ ไม่ควรกระทำเลย ไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ควรอยากอวดโชว์ หรือแสดงความมีตัวตนให้โดดเด่นว่า ฉันได้มาถึงสถานที่เหล่านี้แล้ว
 
2. #‎เงินเหรียญ เงินธนบัตร หรือโลหะวัตถุมงคลต่าง ๆ ไม่ควรโยน หรือโปรยลงในบริเวณโบราณสถานโบราณวัตถุ แม้ว่าสิ่งนี้ เราจะเชื่อว่า เป็นการบูชาพระคุณอันยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม เพราะเงิน เหรียญ โลหะต่าง ๆ อาจมีส่วนทำให้เกิดรอยบิ่น บุบ หรือเป็นขยะสกปรกสะสมได้ ถ้าอยากบูชาด้วยเงินจริง ๆ ควรเก็บเงินเหล่านั้นไปถวายพระที่วัดต่าง ๆ จะดีที่สุด
ภาพหนุ่มสาววัยรุ่น เสี่ยงทายดวงชะตาโชคลาภความรัก ด้วยการอธิษฐานโยนเหรียญขึ้นแล้วขึ้นเล่าไปยังยอดเสาอโศก (เสาหัวสิงห์ อีกโบราณมรดกที่ทรงคุณค่า) ภาพน่ารัก ๆ นี้ อาจทำให้เรารู้สึกเอ็นดูและลุ้นให้หนุ่มสาวสมหวังในสิ่งที่ปรารถนา แต่เหรียญเจ้ากรรมอันไร้วิญญาณนั้น จะกระเทาะ กระแทก ขูดแซะเสาหินอโศกให้เสื่อมสภาพไปเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
 
3. #‎น้ำหอม แม้ว่าเราอยากบูชาเทิดทูนพระบรมศาสดาด้วยของหอมปานใด แต่ก็ไม่ควรนำน้ำหอมไปฉีด หรือหยดใส่โบราณสถาน หรือพระพุทธปฏิมาต่าง ๆ เพราะสารเคมีจากน้ำหอม อาจมีส่วนกัดกร่อนซากอิฐปูนให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้นได้
 
4. #‎แผ่นทอง สิ่งนี้ ชาวไทยจะนิยมกันมากกว่าทุกชาติ และดูเหมือนไม่มีการบอกกล่าวตักเตือนกันเลย เราอาจเคยชินเวลาไปวัดในประเทศไทย ชอบปิดทองพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่สำหรับโบราณสถานแล้ว ทั้งพระพุทธปฏิมา อิฐเจดีย์ ถ้ำ หรือภูเขาต่าง ๆ เราควรงดเว้น ไม่ต้องปิดทอง ไม่ต้องเอาแผ่นทองไปเลย ยิ่งดี
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการปิดทองใด ๆ
 
5. #‎ธูปเทียน ต้องเลือกจุดบูชาในที่ที่มีเชิงรับเทียนหรือมีกระถางธูปเท่านั้น อย่าไปจุด ตั้ง หรือเสียบตามช่องอิฐในโบราณเจดีย์ใด ๆ
หลาย ๆ ที่มีรอยดำจากควันไฟควันธูปเทียน
หรือจะไม่นำธูปเทียนไปบูชาเลย ก็ดีเช่นกัน เพื่อให้มีผลกระทบกับโบราณสถานให้น้อยที่สุด
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ศรัทธาในพระสัทธรรมอย่างแน่นแฟ้น ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการบูชาด้วยธูปเทียนใด ๆ
 
6. #‎ดอกไม้ ควรบูชาในที่เหมาะสมเท่านั้น ควรมองหาที่ ๆ วางบูชาแล้ว ไม่มีผลกระทบกับโบราณสถาน ถ้าวางดอกไม้แล้ว จะกลายเป็นการสะสม หมักหมมเชื้อรากัดกร่อนอิฐปูน ไม่ควรวาง หรือไม่นำไปบูชาเลย
การบูชาด้วยกาย ใจ ที่นอบน้อมมั่นคง ศรัทธาในพระสัทธรรมอย่างแน่นแฟ้น ก็ได้อานิสงส์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการบูชาด้วยดอกไม้ใด ๆ
 
ขออภัย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เสนอไว้เพื่อให้สังคมชาวพุทธได้พิจารณา ไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่หรือกระทบใคร
 
ถ้าหากเห็นว่าสิ่งที่เสนอนี้มีประโยชน์ ก็ได้โปรดช่วยกันบอกกล่าว แนะนำ และสรุปนำไปเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อรักษาโบราณมรดกเหล่านี้ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด ให้คงอยู่ยาวนานเพื่อให้อนุชนภายหน้าได้ศึกษาเรียนรู้ในสภาพที่ดีที่สุด แต่หากเรายังเคยชินกับพฤติกรรมดังว่ามาแล้ว เชื่อว่า โบราณสถานต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะหมดสภาพไปใน 100-200 ปีข้างหน้านี้เป็นแน่แท้


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 2.23 mb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2559 | อ่าน 5859
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15903
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39807
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9421
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10328
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13718
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5859
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8279
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10822
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5750
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5627
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)