มหาเถรสมาคม ควรสร้างมหาอุปาสิกาวิทยาลัย 18 แห่ง ในปี 2558


                สำนักแม่ชีที่เป็นมาตรฐาน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คณะสงฆ์ กล่าวคือ มหาเถรสมาคม ควรร่วมมือกับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และพระสงฆ์ในภาคสงฆ์นั้น ๆ เป็นเจ้าภาพช่วยกันสร้างขึ้นเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้วันนี้ก็ไม่สายเกินไป หากจะสร้างสำนักแม่ชีที่เป็นมาตรฐาน อย่างน้อย ๆ ในปี ๒๕๕๘ เริ่มต้นสร้าง ๑๘ สำนัก (กระจายตามภาคคณะสงฆ์)
                สำนักแม่ชีที่เป็นมาตรฐานนี้ อาจเรียกชื่อว่า มหาอุปาสิกาวิทยาลัย ซึ่งมีแนวทางที่เป็นไปได้ คือ
                           ๑. หาพื้นที่กว้าง ๆ (อาจซื้อใหม่ หรือใช้ที่ศาสนสมบัติกลางในแต่ละพื้นที่ภาคคณะสงฆ์) ในระยะ ๑-๓ ปีแรก แต่ละที่ให้เป็นสถานที่พร้อมรองรับแม่ชีได้ อย่างน้อย ๆ ๒,๕๐๐ คน และทุก ๆ ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า วางแผนสร้างเพิ่มเป็นภาคสงฆ์ละ ๒-๓ แห่ง
                           ๒. จัดระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีเรียนพระไตรปิฎก บาลี อภิธรรม มหาสติปัฏฐานภาวนา และวิชาการสมัยใหม่
                           ๓. มีระบบคัดเลือก คัดกรองผู้จะบวชชี ทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคลให้ชัดเจน
                           ๔. อาคารสถานที่สร้างให้เหมาะสม เน้นสัปปายะ ร่มรื่น ไม่แพง แต่เน้นความปลอดภัย เอื้อต่อไตรสิกขา
                          ๕. จัดเตรียมงบให้แต่ละสำนัก ปีละ ๑๐๐ ล้าน ต่อเนื่องไป ๒๕ ปี
                          ๖. ส่งเสริมให้แม่ชีได้มีบทบาทต่อสังคม โดยยกย่องและให้สวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ
                          ๗. ออกกฎหมาย หรือระเบียบรับรองให้เป็นทางการ ให้มีองค์กรบริหารแม่ชีกลางที่ขึ้นตรงกับมหาเถรสมาคม ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นมูลนิธิดูแลกันเองแบบตามมีตามเกิด เหมือนที่ผ่าน ๆ มา
                          ๘. ออกแบบองค์กรบริหารแม่ชีให้ทันสมัย ตอบสนองต่อสังคม และมีความคล่องตัวทางการบริหาร
                          ๙. มหาเถรสมาคม ออกระเบียบการนำเงินและทรัพย์สินศาสนสมบัติกลาง ให้สามารถเอาใช้ประโยชน์เพื่อพระศาสนาได้อย่างแท้จริง
                           ๑๐. ในระยะแรกเริ่ม ถ้ามอบหมายให้ทุกจังหวัดในแต่ละภาครวมกันทำงาน ด้วยแรงสามัคคีและเข้าใจเป้าหมายรวมร่วมกัน เชื่อว่าคงหาทุนสร้างมหาอุปาสิกาวิทยาลัย ได้ไม่ยาก
               เพียงสร้างมหาอุปาสิกาวิทยาลัยแนวนี้ขึ้นมา สถาบันสงฆ์และประเทศนี้ ก็จะมีบุคลากรหญิงที่มีคุณภาพมากมายมาช่วยงานพระศาสนาและสังคมในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้าต่อไป
               หากผู้หญิงเขามีสถานที่ได้ฝึกอบรมฝึกปฏิบัติธรรมตรงจริต เป็นที่สัปปายะเป็นการเฉพาะของเขา และเป็นระบบที่น่าศรัทธา ในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เกื้อกูล เชื่อว่าหลายคนก็จะไม่สนใจเรื่องบวชภิกษุณี อย่างที่กำลังเป็นข่าวอย่างทุกวันนี้เลย
              แต่ก็มีสิ่งพึงระวังคือ "ความขี้อิจฉา นิสัยซุบซุบนินทา ช่างกระแหนะกระแหน ความมักแบ่งเขาแบ่งเรา การเบ่งฤทธิ์เป็นเจ้าแม่"  อย่าให้มี ไม่เช่นนั้นโครงการนี้ แม้จะทุ่มเงินไปหมื่นล้าน ก็ยากจะประสบผลสำเร็จ
              มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรพิจารณานำเรื่องแบบนี้เข้าที่ประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อปรึกษาหารือตั้งคณะทำงาน เตรียมการทำให้เป็นจริงให้ได้เพื่ออนาคตที่เข้มแข็งของพระศาสนาและสังคมไทย  ถ้าไม่เริ่มสร้างในปีนี้ปีหน้านี้ ลองคิดดูว่า สถานการณ์พระพุทธศาสนาในปีพ.ศ. ๒๖๐๐ จะเป็นอย่างไร หรือเทียบดูกับผลที่ปรากฎในปัจจุบันก็ได้ว่า หากเราได้เตรียมการไว้ดี ปูพื้นไว้เข้มแข็งเมื่อ ๖๐ ปีก่อน สถานการณ์พระสงฆ์ สถานการณ์พระพุทธศาสนาในวันนี้ น่าจะเป็นอย่างไร



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 152.53 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2557 | อ่าน 5142
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15988
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39918
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9487
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10371
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13757
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5887
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8307
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10865
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5778
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5661
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)