นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย เปรียญ 9 ประโยค ข้าราชการบำนาญชาวราชบุรี ผู้มีความเป็นเลิศทางภาษา กาพย์เห่เรือของสยามประเทศคือตำนานอมตะของท่าน พลังศรัทธาเผยแผ่ความรู้ภาษาบาลีภาษาไทยของท่านนั้นเข้มข้นและควรแก่การคำนับ "ภาษาบาลีวันนี้" ท่านเป็นผู้เขียนและพิมพ์ขึ้นเว็บด้วยตนเองทั้งหมด
เรียนบาลีต้องแม่นลิงค์
 
 
เคยได้ยินผู้รู้ท่านพูดกันไหมครับ
 
เรียนวินัย ต้องแม่นสังฆกรรม
เรียนอภิธรรม ต้องแม่นวิถี
เรียนบาลี ต้องแม่นลิงค์

 
ในพระวินัยของสงฆ์ เรื่องสังฆกรรมเป็นเรื่องสำคัญและมีรายละเอียดซับซ้อนซ่อนเงื่อนซ่อนแง่อยู่มาก
บางเรื่องดูเหมือนว่าผิด แต่ความจริงไม่ผิด ทำได้
บางเรื่องดูเหมือนว่าถูก แต่ความจริงผิด ทำไม่ได้
เพราะฉะนั้นถ้าไม่แม่นในหลักเกณฑ์ ก็จะพาให้สังฆกรรมผิดพลาด เกิดความเสียหายได้มาก
 
ในพระอภิธรรม หลักสำคัญคือกระบวนการของจิต ที่เรียกว่า "วิถีจิต”
ถ้าแม่นเรื่องวิถีจิต ก็จับหัวใจพระอภิธรรมไว้ได้หมด
 
ส่วนภาษาบาลี “ต้องแม่นลิงค์”
“ลิงค์” คือเพศของคำในภาษาบาลี
คือ ท่านสมมุติให้คำแต่ละคำมีเพศประจำตัว เวลาจะแจกรูปคำประกอบเข้าเป็นประโยคก็ต้องแจกตามกฎเกณฑ์ของเพศนั้นๆ เป็นระเบียบวิธีอย่างหนึ่งของบาลีไวยากรณ์
ถ้าแจกผิดเพศ ก็ถือว่าเป็นความผิดมหันต์

ตัวอย่างเช่น
ปุริส (ปุ-ริ-สะ) แปลทับศัพท์ว่า “บุรุษ” ท่านกำหนดให้เป็นปุงลิงค์ (เพศชาย)
บุรุษคนเดียว แจกเป็น ปุริโส (ปุ-ริ-โส)
กุล (กุ-ละ) แปลว่า “ตระกูล” ท่านกำหนดให้เป็นนปุงสกลิงค์ (ไม่ใช่เพศชายเพศหญิง)
ตระกูลเดียว แจกเป็น กุลํ (กุ-ลัง)
ถ้าเกิดใครแจก กุล เป็น กุโล เหมือน ปุริโส ก็คือผิดลิงค์ เป็นความผิดมหันต์
 
คำ มีเป็นพันๆ คำ
การจำเพศของแต่ละคำให้ได้จึงเป็นภาระอันใหญ่หลวง
ถ้าใครแม่นลิงค์ ก็คือกำหัวใจของบาลีไว้ได้
มีความปลอดภัยอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน
ลองฟังเรื่องนี้สิครับ
 
พระเดชพระคุณ พระเทพวิสุทธิโมลี (ช้อย มหาธีโร ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ราชบุรี และอดีตเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี (มรณภาพแล้ว) พระอุปัชฌาย์และพระอุเทศาจารย์ (ผู้สอนพระปริยัติธรรม) ของผม ท่านเล่าให้ฟังว่า

ท่านไปเป็นกรรมการตรวจข้อสอบบาลีที่วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
วันนั้นตรวจชั้น ป.ธ.๙ วิชาแต่งไทยเป็นบาลี
ท่านเห็นกรรมการที่นั่งโต๊ะใกล้กันหยิบใบตอบของนักเรียนฉบับหนึ่งขึ้นมาอ่าน
พออ่านบรรทัดแรก กรรมการรูปนั้นก็วงดินสอลงไปบนใบตอบ ขีดกากบาทเสียงดังแกร๊กแล้วโยนลงตะกร้า
(คงเป็นตะกร้าที่แยกไว้เป็นพวกๆ ไม่ใช่ทิ้งเป็นขยะไปเลย)
 
วิชาแต่งไทยเป็นบาลี เป็นวิชาที่มีเฉพาะชั้นเปรียญธรรมเก้าประโยค ข้อสอบจะเป็นภาษาไทยที่ไม่ได้แปลมาจากคัมภีร์ที่เป็นหลักสูตรชั้นใดๆ
บางปีเป็นพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บางปีเป็นข้อความจากพระราชนิพนธ์หรือพระนิพนธ์ในหนังสือเก่า
นักเรียนจะต้องแต่งข้อความนั้นให้เป็นภาษาบาลีที่ถูกต้อง
 
ข้อสอบที่เป็นภาษาไทยปีนั้นขึ้นต้นข้อความว่า
 
อันว่าร่างกายของคนเรานี้.... (ประมาณนี้แหละ)
 
พระเดชพระคุณ พระเทพวิสุทธิโมลี ท่านสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
ทำไมเพียงอ่านบรรทัดแรกก็ถูกโยนทิ้งตะกร้าไปแล้ว ?
 
ท่านก็เลยแอบหยิบใบตอบที่ถูกทิ้งตะกร้าขึ้นมาดู
ท่านบอกว่า ใบตอบของนักเรียนฉบับนั้นขึ้นต้นประโยคภาษาบาลีว่า
 
โส  ปเนโส  สรีโร ...
 
ถูกดินสอแดงวงและกากบาทไว้เต็มๆ
 
โส  ปเนโส  สรีโร
แปลเป็นไทยว่า ก็อันว่าสรีระนี่นั้น

ความก็ตรงกันกับภาษาไทยที่เป็นข้อสอบ
รูปประโยคก็สวย ถูกต้องตามการวางตำแหน่งคำในภาษาบาลีเป็นอันดี
แล้วเพราะอะไรจึงตกตะกร้า ?
 
พระเดชพระคุณ พระเทพวิสุทธิโมลี ท่านสรุปว่า

ถ้าเป็นประโยคต่ำๆ แต่งแบบนี้ อาจให้อภัยได้
แต่ระดับประโยคเก้า ถือเป็นความผิดมหันตโทษ
ตกสถานเดียว !
 
ใครรู้บ้างว่า โส  ปเนโส  สรีโร เป็นมหันตโทษตรงไหน

ถ้ารู้คำตอบ ก็จะรู้ด้วยว่า เรียนบาลี ต้องแม่นลิงค์ นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดา !!!
 
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
 


เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2556 | อ่าน 12720
เขียนโดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

ทั้งหมด 3 รายการ 1 / 1
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)