การเรียนบาลีเรียนอย่างมีความสุขและความยั่งยืนของพระสัทธรรม


การเรียนบาลีโดยมุ่งเพื่อให้รู้คำของพระพุทธเจ้านั้น จะทำให้เราสนใจค้นคว้าและเรียนอย่างมีความสุขมาก เพราะไม่ต้องรอให้ใครมากระตุ้นมาปลุกเร้า แต่ตัวผู้เรียนนั้นเองจะกระตุ้นตัวเองและจัดสรรเวลาเพื่อการศึกษาเล่าเรียนเอง แม้ไม่มีคนสอนก็จะใฝ่หาอ่าน ใฝ่สืบเสาะหาความรู้จากสื่อและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้

ส่วนการเรียนบาลีของพระสงฆ์สามเณรเพื่อสอบบาลีสนามหลวงนั้น ความสุขในการเรียนภาษาบาลีจะมีน้อยกว่า เพราะมุ่งสอบให้ผ่านไปเท่านั้น จิตใจจะวุ่นวายกับการเก็งว่า ปีนี้จะออกสอบอะไร จะออกตรงไหน ยิ่งใกล้วันสอบ ความกังวลก็จะเพิ่มมากขึ้น เพราะมองหนังสือเรียนหน้าไหนก็น่าออกสอบไปเสียทั้งหมด บางท่านจิตใจจะว้าวุ่น นอนก็ไม่เต็มอิ่ม สุขภาพกายก็ทรุดโทรมไปด้วย โดยเฉพาะท่านที่มาเร่งดูหนังสือก่อนสอบในระยะเวลาอันสั้น (ซึ่งนักเรียนบาลีชั้นสูง ๆ ส่วนมากจะเป็นแบบนี้)

เราจะเรียกการเรียนบาลีแบบนี้ว่า "ไม่มีการเรียนก็ได้ แต่เป็นเพียงการมุ่งเตรียมสอบผ่านเท่านั้น" เมื่อสอบผ่านไปแล้ว คนที่เรียนในลักษณะแบบนี้จำนวนมาก จะรู้สึกว่า พ้นทุกข์หมดเคราะห์ไปแล้ว หลายท่านจำนวนมาก จึงทิ้งภาษาบาลีไปเลย ซึ่งน่าเสียดายมาก

นี่คือความเป็นจริงอย่างหนึ่งในแวดวงบาลีของประเทศไทย ที่ควรจะช่วยกันมองให้มาก อย่ายอมรับข้อสรุปว่า "มันเป็นของมันอย่างนี้" บางคนก็สรุปไปว่า มันแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้หรอก ยินยอมพร้อมใจกันรับว่าลักษณะแบบนี้เป็นสิ่งนิจจังเที่ยงแท้ขึงตรึงแวดวงคณะสงฆ์ให้ปรับเปลี่ยนอะไรไม่ได้เลย

ถ้าเพียงแต่คณะสงฆ์ไทยกล้าคิด กล้าปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ต่อการเรียนบาลีของประเทศไทย ความสนุก ความสุข และความคึกคักในการเรียนบาลีจะเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และนี่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยนำไปสู่ทิศทางใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืนของพระสัทธรรมได้



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557 | อ่าน 6163
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15893
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39785
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9409
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10315
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13705
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5850
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8277
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10812
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5745
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5622
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)