ความงดงามในเรือนจำ และ วันมหาสติปัฏฐานภาวนา


นักศึกษาบาลีหญิงในเรือนจำคนหนึ่ง อายุ 30 ต้น ๆ เรียนบาลีได้ 2 เดือน ศาลก็ยกฟ้องให้พ้นผิด ทำให้ได้รับอิสรภาพออกจากเรือนจำกลับไปอยู่บ้าน ผ่านไป 1 เดือน เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมานี่เอง ได้ทราบข่าวว่า เธอสั่งอาหาร 700 กว่าชุด สั่งมาเลี้ยงพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ในเรือนนอนที่เธอเคยอาศัยอยู่ด้วยกันเมื่อครั้งยังอยู่เรือนจำ

นี่เป็นความงดงามอย่างยิ่งและเป็นความน่าชื่นชมอย่างมากที่ได้พบเห็นในเรือนจำ "ทัณฑสถานหญิงกลางลาดยาว กรุงเทพมหานคร" แม้ว่าเธอจะออกจากเรือนจำไปแล้ว แต่ก็ยังคิดถึงพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ในเรือนจำ จึงหาโอกาสสั่งอาหารมาเลี้ยงมาให้กำลังใจกันด้วยไมตรีกรุณา

เรือนจำไทยทุกวันนี้กำลังพัฒนาก้าวไกล ไม่ได้เลวร้ายดังที่หลายคนคิดเดาและเข้าใจแบบแต่เก่าก่อน ดังเช่น ณ ทัณฑสถานหญิงกลางลาดยาว นอกจากมีเรียนบาลี เรียนอภิธรรมแล้ว ทุก ๆ วันศุกร์ ได้จัดให้เป็น "วันมหาสติปัฏฐานภาวนา" (วิชาบังคับของมหาบาลีวิชชาลัย) รวมนักศึกษาบาลีหญิงและผู้ต้องขังอื่น ๆ ที่ศรัทธาสนใจเรียนรู้ฝึกปฏิบัติมหาสติปัฏฐานภาวนา กว่า 300 คนมาร่วมกันฝึกเจริญสติตลอดทั้งวัน เป็นระยะเวลา 1 ปี (ทดลองดู 1 ปีก่อน หากประสบผลสำเร็จดี ก็จะพิจารณาขยายจำนวนและเพิ่มวันฝึกหัดมหาสติปัฏฐานภาวนาต่อไป)

วันศุกร์ เท่ากับ วันมหาสติปัฏฐานภาวนา ได้เกิดขึ้นแล้ว ณ ทัณฑสถานหญิงกลางลาดยาว ในปีนี้ โดยได้รับความเมตตาจาก พระมหาบุญลือ ปุณฺณโก ป.ธ.9, ปริญญาโท (วิปัสสนา), ผู้ผ่านการฝึกปฏิบัติเข้มข้นจากประเทศพม่า (7 เดือน) แห่งวัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอาจารย์สอนประจำตลอด 1 ปี

มนุสสภูมิ ถือว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่สุดเพื่อการปฏิบัติพากเพียรในมหาสติปัฏฐานภาวนา ดังนั้น หากมีร่างกายแข็งแรง จิตใจศรัทธา แน่วแน่มั่นคง ไม่ประมาทในสังขารแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในเรือนจำหรือนอกเรือนจำ ทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้เหมือน ๆ กัน และย่อมจะประสบผลสำเร็จ สามารถบรรลุผลในธรรมกันได้ทุกคน มากน้อยแล้วแต่อินทรีย์ของใครผู้ใดได้ฝึกฝนสะสมมามากน้อย กล้าแข็งหรือหย่อนเพียงใด

"ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา" มีในผู้ใด
ผู้นั้น ย่อมได้ชื่อว่า ไม่สูญเปล่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

"ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา" จะมีได้อย่างไร มีได้ก็ด้วยมีกัลยาณมิตรคือพระอาจารย์ผู้ฉลาดแนะนำอุบาย กับใจของผู้นั้นเองที่เอาใจใส่ มุ่งมั่นพิจารณาศึกษาอย่างต่อเนื่องจริงจัง

ปีนี้ทุกวันศุกร์คือ วันมหาสติปัฏฐานภาวนาในเรือนจำ แต่ปีต่อ ๆ ไป ทุก ๆ วัน และทุก ๆ วินาที อาจเป็นวันเวลาแห่งมหาสติปัฏฐานภาวนาแบบตลอดเวลาเลยก็อาจเป็นได้

9 พฤศจิกายน 2557

-------------------------
ตั้งแต่นี้ไป ได้เพิ่มเติมข้อมูลเมื่อพฤษภาคม 2558
------------------------

"ป้าสุ ยอดหญิงนักบาลีผู้สูงวัยแห่งเรือนจำ" หนึ่งในความทรงจำ 2558 บันทึกไว้กันลืม
 
แม้ว่าอายุจะเลย 60 ไปตั้งหลายปีแล้ว แต่ป้าสุ นักเรียนบาลีหญิงแห่งเรือนจำหนึ่งเดียวของประเทศไทย กลับบอกว่า แก่แต่ตัว ส่วนหัวใจและพลังศรัทธานั้นไม่เคยแก่ไม่ยอมโรยรา ป้าสุคนนี้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง มาเรียนสม่ำเสมอ ให้ทำอะไรก็ทำ ไม่เขิน ไม่อาย ไม่กลัวขายหน้า มานะคือการถือตัวก็เบาบาง ฝึกทำแบบฝึกหัดร่วมกับเพื่อน ๆ น้อง ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ ได้โดยไม่เคยบ่นว่ายาก และไม่เคยแสดงอาการท้อแท้ถอดใจให้ใครเห็นเลย
 
ป้าสุ มักจะคอยให้กำลังใจเพื่อนร่วมชั้น ปลุกใจน้อง ๆ ในการเรียน โดยเรียนให้ดู ทำให้เป็นแบบอย่างว่า แม้อายุจะมาก แต่ก็สามารถเรียนบาลีได้ จนเพื่อน ๆ ยอมยกนิ้วให้ "ป้าสุ ยอดหญิงนักบาลีผู้สูงวัยแห่งเรือนจำ"
 
ธรรมดาของการเรียน บางวันอาจเลิกช้าไปบ้าง "58 แล้วนะ...." เสียงของใครบางคนดังแว่วมาจากหลังห้องแบบทีเล่นทีจริงเป็นเชิงเตือนว่าได้เวลาเลิกเรียนแล้ว และต้องการสื่อความว่า คนแก่ อยากพักแล้ว แต่นั่นไม่ใช่เสียงของป้าสุแต่อย่างใด เพราะป้าสุนั่งอยู่แถวหน้าสุดของห้องเรียนทุกวัน
 
บางคนอาจสงสัยถาม ผู้ต้องขังเรียนภาษาบาลีไปทำไม ผมมักเลือกที่จะตอบด้วยการยิ้ม ๆ และไม่พูดอะไรมาก การตอบด้วยภาษาท่าทางลักษณะนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สงสัยไปสืบค้นหาข้อมูลและไตร่ตรองอย่างละเอียดแล้วจะค้นพบคำตอบด้วยตัวเองได้ ผมมีข้อสรุปในใจว่า ถ้าใครค้นพบคำตอบของคำถามที่ว่า "เกิดมาทำไม" ได้แล้ว ทุกสิ่งอย่างของคน ๆ นั้นจะชัดเจน แน่วแน่ และมั่นคง โดยไม่จำต้องอธิบายใด ๆ
 
เวลาเพียงวันเดียว แต่ได้ศึกษาภาษาบาลี ภาษาแห่งพระธรรมนั้น มีประโยชน์กว่ามีชีวิตยาวนานร่วม ๆ 100 ปี ของผู้ที่ไม่ศึกษาธรรมไม่ศึกษาบาลีเลย ป้าสุ หญิงผู้สูงวัยอายุกว่า 60 ปีได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า แม้จะอยู่ในคุก แม้จะอายุมาก ก็เรียนบาลีได้ ป้าสุได้ทำหน้าที่ของตนเองในโอกาสที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินพระพุทธศาสนาแล้ว

----------------------

"เหงียน...โท กายติดคุก ใจติดธรรม" หนึ่งในความทรงจำ 2558 บันทึกไว้กันลืม
 
โอกาสดี ๆ สำหรับชีวิตคนเรามีอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ สถานที่ใดหรืออยู่ในสถานภาพใด เพียงเรารู้จักมอง รู้จักใฝ่หา จัดการเวลา จัดสรรทรัพยากร ลงมือลงแรง สิ่งดี ๆ อันงดงามก็จะเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ
 
เหงียน...โท หญิงชาวเวียดนาม อายุใกล้จะครบ 60 ปีแล้ว พูดไทยได้ยังไม่ดีนัก แต่สมัครเรียนภาษาบาลี ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพฯ เธอเป็นนักเรียนต่างชาติคนเดียวในห้องเรียนที่ซักถามบ่อยที่สุดกว่านักเรียนบาลีชาวต่างชาติทั้งหมด เวลาเรียน ถ้าฟังอะไรแล้วไม่เข้าใจ เหงียน...โท จะต้องถามทันที ถามจนรู้เรื่องจนเข้าใจ ซึ่งนักเรียนแบบนี้ถือว่าดีมาก ต่างจากนักเรียนไทยหลายคน มักสงบปากสงบคำ แม้ไม่รู้ ก็ไม่ถาม เอาแต่ยิ้ม ๆ แบบไทย ๆ ต้องกระตุ้นให้ถาม จึงยอมถามบ้าง
 
เพราะเรียนบาลีเป็นภาษาไทย เหงียน...โท จึงได้รับอานิสงส์ไปในตัวคือทำให้พูดไทยได้คล่องและเขียนภาษาไทยได้ไวขึ้น อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องชื่นชมเธอคือ เหงียน...โท เป็นนักเรียนที่มีความอดทนสูงมาก แม้จะอยู่ในวัยใกล้เกษียณ แต่สามารถทนนั่งเรียนได้ทั้งวันแบบน่าทึ่งน่าศรัทธา
 
คนไทยจำนวนไม่น้อย ยังติดกับมายาคติที่ว่า ภาษาบาลีนั้นเรียนยาก จึงทำให้หลายคนไม่สนใจเรียน ไม่แสวงหาที่เรียน ไม่เห็นความสำคัญ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ เกิดมาไม่รู้สึกเลยว่าภาษาบาลีนี้สำคัญกับตัวเองในฐานะชาวพุทธอย่างไร แท้จริง การเรียนภาษาบาลีนั้นไม่ยากเลย ก็เหมือนกับเรียนภาษาต่างประเทศทั่วไปนั่นเอง ถ้ายากมากแล้ว ทำไมคนต่างชาติอย่างเหงียน..โท ชาวเวียดนามคนนี้ จึงเรียนได้ และเรียนรู้เรื่องได้ด้วย ?
 
วันนี้ เหงียน...โท กายอาจติดคุก แต่ใจของเธอถือว่าได้ติดธรรมเรียบร้อยแล้ว เพราะภาษาบาลีคือภาษาแห่งพระธรรม การเรียนบาลี ทำให้ได้เรียนธรรมะไปในตัวด้วย
 
เหงียน...โท ติดอยู่ในคุกตามกฏเกณฑ์กติกาของสังคม วันหน้า วันต่อ ๆ ไป หรือชาติหน้า เชื่อว่า เหงียน...โท จะต้องมีสุคติเป็นปลายทางแน่นอน
 
ชีวิตเราอื่นก็ไม่ต่างกัน อาจพลั้งพลาดไปทำผิดกฎหมายผิดศีลธรรมในวันใดวันหนึ่งข้างหน้าก็ได้ และอาจต้องคดีมีโทษทัณฑ์ให้ถูกจองจำในคุกตะรางได้เช่นกัน
สังสารวัฏฏ์นี้เนิ่นนาน สำหรับผู้ไม่รู้พระสัทธรรม เปรียบได้กับ กลางคืนช่างเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานสำหรับคนนอนไม่หลับ 
และเปรียบได้กับการเดินทางเพียงไม่กี่กิโลเมตร ช่างไกลเสียเหลือเกินสำหรับคนเดินทางที่เหนื่อยล้าอ่อนแรง

-------------------------------

"กุ้ง ผู้ต้องขังหญิง ผู้เป็นเลิศทางการเรียนบาลี" หนึ่งในความทรงจำ 2558 บันทึกไว้กันลืม
 
กุ้ง หญิงไทยร่างบาง ๆ หน้าตาสวย บุคลิกคล่องแคล่ว เรียนรู้เร็ว ละเอียด มีทักษะในการจดบันทึกและสื่อความ กุ้งมีอายุราว ๆ 40 ต้น ๆ ครั้งหนึ่งในชีวิตเผลอทำผิดพลาดจึงมีโทษต้องมาอยู่ในเรือนจำร่วม ๆ 10 ปี เธอมีดวงหน้าที่สดใส แววตาเปล่งประกายใฝ่รู้ เป็นนักอ่านนักค้นคว้าตัวยง ความจำดีมาก ฉายแววความเป็นเลิศให้เห็นตั้งแต่วันแรก ๆ ที่เรียนบาลี เธอมักถามและทักท้วงได้แทบจะทันทีเมื่อเราบอกผิดไปจากครั้งก่อน ๆ เป็นผู้ช่วยคอยตรวจเช็คความแม่นยำถูกต้องด้านเนื้อหาได้ดีมาก
 
ด้วยมีทักษะในการเรียนรู้ดี ประกอบกับตั้งใจฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง กุ้งจึงอยู่ในระดับแถวหน้าของห้อง เพื่อน ๆ ติดอะไรทางการเรียน มักจะมองและเรียกหากุ้งให้ช่วยบอกให้ จึงคาดหมายว่า ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า กุ้งจะต้องทำหน้าสอนบาลีให้รุ่นน้อง ๆ ในเรือนจำ และเชื่อว่าเธอจะทำหน้าที่ในการสอนบาลีได้ดีแน่นอน เพียงรอวันเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น
 
ผู้ต้องขังที่มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะทางภาษาบาลีภาษาพระธรรม ถ้าเขามาทำหน้าที่สอนบาลี เราควรยกย่องเป็นการพิเศษ อย่างน้อย ๆ เรือนจำก็ต้องให้เกียรติ พากันเรียกว่า "ครู" และในวันเวลาสอน ควรต้องมีชุดครูให้สวมใส่ไปสอน จึงจะถือเป็นการยกย่องเชิดชูส่งเสริมการทำหน้าที่ของเขา เพราะภาษาบาลีคือภาษาแห่งพระธรรม เรากำลังคิดว่า ชุดครูสตรีที่สวมใส่เวลาไปทำหน้าที่สอนภาษาบาลี จะออกมาในรูปแบบใด คงมีทั้งเสื้อแขนสั้น แขนยาว และกระโปรงยาว ๆ แบบอุบาสิกาไปถือศีลอุโบสถก็น่าจะพอได้
 
แต่ราชการคือกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม หากมองเห็นโอกาสและความพิเศษตรงนี้ อาจต้องปรับเปลี่ยนระเบียบการแต่งกายของผู้ต้องขังบ้าง คืออนุญาตให้ครูสอนบาลี แต่งกายได้แตกต่างผู้ต้องขังทั่วไป นี่จะเป็นการทำกุศลร่วมกันอีกแนวทางหนึ่ง
 
การเชิดชูยกย่องเปิดโอกาสคนได้ทำสิ่งที่ดีงาม การน้อมนำพระธรรมให้เข้าถึงใจของชนทุกหมู่เหล่า เป็นหน้าที่ของบรรดาพระสงฆ์ ราชการ และชาวพุทธทั้งมวล เราต้องหาวิธียกย่องและส่งเสริมสนับสนุนกัน
ในทุกวิชาเรียน ในทุกสาขาอาชีพ ไม่มีพรสวรรค์ใด ๆ ทั้งนั้น มีแต่ความพยายามเรียนรู้ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจริงจังเท่านั้น ที่จะนำความสำเร็จอันงดงามมาให้
คอยชื่นชมความก้าวหน้าทางการเรียนบาลีของเหล่าผู้ต้องขัง และคอยติดตามดูบทบาทของกุ้งในวงการบาลีไทยในอีก 4-5 ปีต่อไปจากนี้

----------------------------

"ซู นักเรียนบาลีชาวปากีสถาน" หนึ่งในความทรงจำ 2558 บันทึกไว้กันลืม
 
คุณซู เป็นหญิงชาวปากีสถาน อายุราว ๆ 42-45 ปี ได้รับโทษต้องอยู่ในเรือนจำหลายปี เพิ่งเรียนภาษาไทยได้ไม่นาน พูดไทยไม่ค่อยได้ แต่หาญกล้าสมัครเรียนภาษาบาลีกับเพื่อนกลุ่มคนไทย ลาว พม่า และเวียตนาม รวมกว่า 38 ชีวิต เป็นรุ่นแรกของที่นี่และเป็นกลุ่มผู้ต้องขังหญิงรุ่นแรกกลุ่มแรกในประเทศไทยที่เรียนภาษาบาลี
 
แรก ๆ ก็นึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่า คุณซูจะสู้ไหวไหม คอยดูไปเรื่อย ๆ แต่เมื่อผ่านไป 7-8 เดือน ต้องยอมรับเลย เขาเขียนภาษาไทยได้ดีและเขียนได้สวยด้วย แถมอ่านไทยได้คล่องขึ้นมาก ช่วงแรก ๆ เชื่อว่า เขาคงเรียนบาลี (สอนด้วยภาษาไทย) แบบฟังไทยรู้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ก็ตั้งใจสูงมาก ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกค้นคว้า ไม่เคยบ่น (หรือเขาอาจบ่นเป็นภาษาไทยไม่ได้?)
 
วันนี้ เลยให้คุณซูและเพื่อน ๆ ทั้งชั้นออกมานำเสนอความรู้ทางไวยากรณ์บาลีที่ได้เรียนกันมา ให้ออกมาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แล้วแต่ว่ากลุ่มไหนจะได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้าเรื่องอะไร ซึ่งหัวข้อนั้นได้มอบเป็นการบ้านไปแล้ว 1 สัปดาห์ หัวข้อที่มอบหมาย เช่น อาขยาต ธาตุ วาจก สาธนะ ตเวตุนาทิปัจจัย จุดเน้นสำคัญคือ ทุกคนสมาชิกในกลุ่มต้องมีส่วนร่วม คือต้องวางแผนร่วมกัน จัดลำดับขั้นตอน และได้พูดนำเสนอเรื่องของกลุ่มตัวเองทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น ไม่เลือกว่าจะอายุมากหรือน้อย และไม่อนุญาตให้นำหนังสือออกไปนำเสนอหน้าชั้น
 
เช้า ๆ แรกเดินเข้าห้องเรียน นักเรียนบางคนรีบบอกว่า นอนไม่ค่อยหลับเลย เพราะกังวลหลายอย่าง กลัวด้วย ตื่นเต้นด้วย ไม่เคยนำเสนอแบบนี้ บางคนก็บอกว่า ไม่หลับหลายคืนแล้ว จึงได้บอกไปว่า การนำเสนอหน้าชั้นเรียน จะทำให้เราได้ฝึกค้นคว้า หัดจับประเด็น ผิดถูก ไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะอยู่ในกระบวนการฝึกหัดเรียนรู้ ขอให้ตั้งใจนำเสนอตามที่ตัวเองสามารถทำได้ แค่นั้นก็พอ ไม่ต้องอายใคร และไม่มีอะไรเสียหาย ไม่ต้องเกรงหรือกลัวอะไร
เพียงกลุ่มแรกออกมานำเสนอ ก็ชื่นชมในใจเลยว่า นี่พวกเขาเรียนรู้บาลีกันได้ดีขนาดนี้เลยหรือ ผู้ต้องขังในประเทศนี้ เรียนรู้ดีแบบนี้เลยหรือนี่ ? ไม่น่าเชื่อ เวลาเรียนก็ไม่ได้มากมาย เมื่อได้ดูทีละกลุ่ม ๆ แล้ว โดยภาพรวม ถ้าให้คะแนนคือ งานนี้ต้องอยู่ระดับ B+ พวกเขาทำได้เกินกว่าที่คาดคิดไว้มากเลย
 
สำหรับคุณซู ซึ่งเป็นชาวต่างชาติเรียนภาษาบาลี ก็นำเสนอได้ดีมากและดีกว่าคนไทยเราบางคนเสียอีก แม้ว่าจะพูดสำเนียงไม่ชัดเป๊ะเหมือนคนไทย แต่สิ่งที่เขาพยายามนำเสนอ รู้ได้ทันทีว่า เขารู้จริง มั่นใจ เขายกประโยคตัวอย่างเองได้ แยกธาตุ ปัจจัย วิภัตติได้ แปลออกอายตนิบาตได้ถูกต้อง เรียกชื่อสัมพันธ์ เข้าออกสัมพันธ์ได้ไม่ผิดอีก นี่มันคืออะไร
 
ระหว่างอยู่ในห้องเรียนน บางความคิดผุดขึ้นมา "บางทีกิจกรรมเล็ก ๆ คือการเปิดสอนภาษาบาลีในเรือนจำนี้ อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยก็ได้"
การได้รู้ ได้เห็น ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้คนมาสนใจเรียนรู้ภาษาบาลี ภาษาของพระพุทธศาสนา ภาษาพระธรรม ได้มีส่วนเพิ่มประชากรชาวพุทธผู้รู้ภาษาบาลีให้มีปริมาณมากขึ้นแบบนี้ แม้ว่าจะต้องหมดลมหายใจลงในวันสองวันนี้ ก็ไม่มีสิ่งใดต้องเสียดายแล้ว
 
แม้ว่าอายุจะเลย 60 ไปตั้งหลายปีแล้ว แต่ป้าสุ นักเรียนบาลีหญิงแห่งเรือนจำหนึ่งเดียวของประเทศไทย กลับบอกว่า แก่แต่ตัว ส่วนหัวใจและพลังศรัทธานั้นไม่เคยแก่ไม่ยอมโรยรา ป้าสุคนนี้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง มาเรียนสม่ำเสมอ ให้ทำอะไรก็ทำ ไม่เขิน ไม่อาย ไม่กลัวขายหน้า มานะคือการถือตัวก็เบาบาง ฝึกทำแบบฝึกหัดร่วมกับเพื่อน ๆ น้อง ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ ได้โดยไม่เคยบ่นว่ายาก และไม่เคยแสดงอาการท้อแท้ถอดใจให้ใครเห็นเลย
 
ป้าสุ มักจะคอยให้กำลังใจเพื่อนร่วมชั้น ปลุกใจน้อง ๆ ในการเรียน โดยเรียนให้ดู ทำให้เป็นแบบอย่างว่า แม้อายุจะมาก แต่ก็สามารถเรียนบาลีได้ จนเพื่อน ๆ ยอมยกนิ้วให้ "ป้าสุ ยอดหญิงนักบาลีผู้สูงวัยแห่งเรือนจำ"
 
ธรรมดาของการเรียน บางวันอาจเลิกช้าไปบ้าง "58 แล้วนะ...." เสียงของใครบางคนดังแว่วมาจากหลังห้องแบบทีเล่นทีจริงเป็นเชิงเตือนว่าได้เวลาเลิกเรียนแล้ว และต้องการสื่อความว่า คนแก่ อยากพักแล้ว แต่นั่นไม่ใช่เสียงของป้าสุแต่อย่างใด เพราะป้าสุนั่งอยู่แถวหน้าสุดของห้องเรียนทุกวัน
 
บางคนอาจสงสัยถาม ผู้ต้องขังเรียนภาษาบาลีไปทำไม ผมมักเลือกที่จะตอบด้วยการยิ้ม ๆ และไม่พูดอะไรมาก การตอบด้วยภาษาท่าทางลักษณะนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สงสัยไปสืบค้นหาข้อมูลและไตร่ตรองอย่างละเอียดแล้วจะค้นพบคำตอบด้วยตัวเองได้ ผมมีข้อสรุปในใจว่า ถ้าใครค้นพบคำตอบของคำถามที่ว่า "เกิดมาทำไม" ได้แล้ว ทุกสิ่งอย่างของคน ๆ นั้นจะชัดเจน แน่วแน่ และมั่นคง โดยไม่จำต้องอธิบายใด ๆ
 
เวลาเพียงวันเดียว แต่ได้ศึกษาภาษาบาลี ภาษาแห่งพระธรรมนั้น มีประโยชน์กว่ามีชีวิตยาวนานร่วม ๆ 100 ปี ของผู้ที่ไม่ศึกษาธรรมไม่ศึกษาบาลีเลย ป้าสุ หญิงผู้สูงวัยอายุกว่า 60 ปีได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า แม้จะอยู่ในคุก แม้จะอายุมาก ก็เรียนบาลีได้ ป้าสุได้ทำหน้าที่ของตนเองในโอกาสที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินพระพุทธศาสนาแล้ว
"ป้าสุ ยอดหญิงนักบาลีผู้สูงวัยแห่งเรือนจำ" หนึ่งในความทรงจำ 2558 บันทึกไว้กันลืม
 
แม้ว่าอายุจะเลย 60 ไปตั้งหลายปีแล้ว แต่ป้าสุ นักเรียนบาลีหญิงแห่งเรือนจำหนึ่งเดียวของประเทศไทย กลับบอกว่า แก่แต่ตัว ส่วนหัวใจและพลังศรัทธานั้นไม่เคยแก่ไม่ยอมโรยรา ป้าสุคนนี้ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง มาเรียนสม่ำเสมอ ให้ทำอะไรก็ทำ ไม่เขิน ไม่อาย ไม่กลัวขายหน้า มานะคือการถือตัวก็เบาบาง ฝึกทำแบบฝึกหัดร่วมกับเพื่อน ๆ น้อง ๆ ลูก ๆ หลาน ๆ ได้โดยไม่เคยบ่นว่ายาก และไม่เคยแสดงอาการท้อแท้ถอดใจให้ใครเห็นเลย
 
ป้าสุ มักจะคอยให้กำลังใจเพื่อนร่วมชั้น ปลุกใจน้อง ๆ ในการเรียน โดยเรียนให้ดู ทำให้เป็นแบบอย่างว่า แม้อายุจะมาก แต่ก็สามารถเรียนบาลีได้ จนเพื่อน ๆ ยอมยกนิ้วให้ "ป้าสุ ยอดหญิงนักบาลีผู้สูงวัยแห่งเรือนจำ"
 
ธรรมดาของการเรียน บางวันอาจเลิกช้าไปบ้าง "58 แล้วนะ...." เสียงของใครบางคนดังแว่วมาจากหลังห้องแบบทีเล่นทีจริงเป็นเชิงเตือนว่าได้เวลาเลิกเรียนแล้ว และต้องการสื่อความว่า คนแก่ อยากพักแล้ว แต่นั่นไม่ใช่เสียงของป้าสุแต่อย่างใด เพราะป้าสุนั่งอยู่แถวหน้าสุดของห้องเรียนทุกวัน
 
บางคนอาจสงสัยถาม ผู้ต้องขังเรียนภาษาบาลีไปทำไม ผมมักเลือกที่จะตอบด้วยการยิ้ม ๆ และไม่พูดอะไรมาก การตอบด้วยภาษาท่าทางลักษณะนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สงสัยไปสืบค้นหาข้อมูลและไตร่ตรองอย่างละเอียดแล้วจะค้นพบคำตอบด้วยตัวเองได้ ผมมีข้อสรุปในใจว่า ถ้าใครค้นพบคำตอบของคำถามที่ว่า "เกิดมาทำไม" ได้แล้ว ทุกสิ่งอย่างของคน ๆ นั้นจะชัดเจน แน่วแน่ และมั่นคง โดยไม่จำต้องอธิบายใด ๆ
 
เวลาเพียงวันเดียว แต่ได้ศึกษาภาษาบาลี ภาษาแห่งพระธรรมนั้น มีประโยชน์กว่ามีชีวิตยาวนานร่วม ๆ 100 ปี ของผู้ที่ไม่ศึกษาธรรมไม่ศึกษาบาลีเลย ป้าสุ หญิงผู้สูงวัยอายุกว่า 60 ปีได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า แม้จะอยู่ในคุก แม้จะอายุมาก ก็เรียนบาลีได้ ป้าสุได้ทำหน้าที่ของตนเองในโอกาสที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินพระพุทธศาสนาแล้ว


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 254.33 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2557 | อ่าน 5648
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15881
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39742
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9393
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10304
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13695
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5844
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8270
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10799
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5743
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5621
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)