วิธีการอ่านหนังสือหลักสูตรภาษาบาลีเบื้องต้น


หนังสือเริ่มต้นสำหรับเรียนภาษาบาลี จำนวน 5 เล่ม คือ 
1 ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
2 วิธีทำตัวรูปนาม
3 วิธีทำตัวรูปอาขยาต
4 หลักการแปล
5 วากยสัมพันธ์

รวมเรียกกันว่า ภาษาบาลีเบื้องต้นนั้น เป็นหนังสือที่รวบรวมเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยพระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จริง ๆ ยังมีอีก 2 เล่ม คือ โครงสร้างลักษณะภาษาบาลี กับ ธรรมบทบาลีแปลพร้อมวิเคราะห์ศัพท์ (ประมาณ 25 เรื่องก่อน) ที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ รวม 7 เล่มนี้ จัดเข้าชุดเรียกว่า ภาษาบาลีเบื้องต้น เป็นชุดหนังสือพื้นฐานสำหรับคนไทยที่เริ่มเรียนภาษาบาลีครั้งแรก

หนังสือ 5 เล่มแรกนั้น (ที่นักศึกษาแต่ละคนได้รับไป) บางคนได้รับฉบับสำเนาแจกและบางคนได้รับฉบับพิมพ์มาตรฐาน เนื้อหาข้างในไม่ต่างกัน ไม่ต้องแปลกใจว่า เป็นอันเดียวกันหรือไม่

วิธีการเริ่มต้นเรียนบาลีตามหลักสูตรนี้นั้น บางคนไม่ได้ตามดูวีดีโอมาแต่ตั้น อาจเริ่มต้นไม่ถูกว่า จะเริ่มต้นตรงไหนดี จึงขอแนะนำง่าย ๆ ดังนี้

ให้เข้าใจก่อนกว่า 
การเรียนภาษานั้น ไม่ว่าภาษาอะไร มีจุดสำคัญอยู่ 2 เรื่องหลักคือ
1. ทำความเข้าใจหรือหาความรู้ในเนื้อหาก่อน
2. สร้างความชำนาญ หรือฝึกทักษะให้เกิดความคล่องแคล่วในเรื่องนั้น ๆ

เริ่มต้นให้

1. เปิดหนังสือเรียนไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นมาดู
เริ่มอ่านทำความเข้าใจ บทที่ 1 สัญญาวิธาน ก่อน แล้วก็ข้ามบทที่ 2 สนธิวิธานไปได้เลย (จะมาเรียนทีหลัง) ให้ไปขึ้นบทที่ 3 นาม ได้เลย

ระหว่างนี้ หากดูตามวิดีโอสอนจากเว็บ เราจะเห็นว่า พระสงฆ์นักศึกษาในห้องเรียน จะฝึกทำตัวรูปนามคำศัพท์ตามลิงค์ และการันต์ต่าง ๆ เสียงดัง (บางคนไม่รู้ก็คิดว่า กำลังท่องอะไร?) และฝึกแปลประโยคบาลีตัวอย่างของรูปคำนั้น ๆ พร้อมฝึกสัมพันธ์ด้วย หรือฝึกแปลคำบาลีที่เราเจอบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน

ทำไมจึงฝึกทำตัวรูปนาม
เพราะต้องการสร้างความชำนาญในแบบแจกคำหรือ Pattern ของคำนามในภาษาบาลี ว่าคำแต่ละลิงค์แจกแบบนี้ มีขั้นตอน step by step กว่าจะได้รูปมาแบบนี้ ๆ

ประโยชน์ที่จะได้รับคือ เมื่อฝึกสร้างความชำนาญทำตัวรูปนามแบบนี้ เมื่อเราเจอคำบาลี ก็จะนึกคำแปลได้โดยอัตโนมัติ ไม่เสียเวลานาน

หากเราไม่ฝึกสร้างความชำนาญ เรียนแค่รู้ ๆ ผ่าน ๆ ไป เมื่อเจอคำ เราจะไม่สามารถแปลได้โดยอัตโนมัติ เราจะต้องใช้เวลาคิด หรือไปเปิดหนังสือดูก่อน ซึ่งจะทำให้ล่าช้า แปลบาลีได้ช้า

2. ให้เปิดหนังสือ "วิธีทำตัวรูปนาม" มาประกอบการฝึกทักษะทำตัวรูปนาม หรือฟัง mp3 ใน DVD ประกอบด้วย ก็ยิ่งง่าย

การฝึกทำตัวรูปนาม แบบมีจังหวะจะโคนที่ดี จะทำให้มีสมาธิจิตดี ไพเราะและจดจำได้นาน (ให้ฟัง mp3 เพื่อกำหนดจังหวะให้เหมาะ) ยิ่งฝึกพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน จะทำให้เสียงปลุกเร้ามีพลัง ไม่ทำให้ง่วงหรือเซื่องซึม

3. ให้เปิดอ่าน "หนังสือหลักการแปลบาลีขั้นพื้นฐาน" ด้วยเลย ให้เปิดอ่าน และฝึกแปลด้วยตนเองได้เลย ไม่ต้องรออาจารย์

จริง ๆ การแปลบาลีนั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้เรียนจบไวยากรณ์เบื้องต้นทั้งเล่มก่อนแล้วจึงมาฝึกแปล เพราะวิธีนั้น ทำให้แปลบาลีได้ช้า กว่าจะจบไวยากรณ์ทั้งเล่ม บางทีก็ลืมหลักการลืมคำไปแล้ว ดังนั้น เพื่อให้มีความชำนาญ แปลบาลีได้เร็ว ให้อ่านหลักการแปลบาลีนี้ด้วยเลย

ข้อสำคัญที่ควรรู้อีกอย่างคือ
การฝึกแปลบาลีได้เร็ว จะมีประโยชน์มาก เมื่อเรียนเนื้อหาวิเคราะห์คำในนามกิตก์/สมาส/ตัทธิต จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและเร็วด้วย

ดังนั้น ต้องรีบฝึกและทำความเข้าใจเรื่องการแปลให้ได้เร็ว

4. หนังสือ"วากยสัมพันธ์" ให้อ่านเองได้เลย โดยเฉพาะ ชื่อสัมพันธ์ (บทที่ 11 เป็นต้นไป) อ่านบ่อย ๆ ให้จำชื่อสัมพันธ์ให้ได้

ทำไมจึงฝึกสัมพันธ์ด้วย แปลเฉย ๆ ไม่ได้หรือ ?

วิชาสัมพันธ์นี้ เป็นสุดยอดวิชา ทำให้แปลบาลีได้ดีและแปลไม่ผิดพลาด การเข้าใจวากยสัมพันธ์ดี จะทำแปลบาลีได้ดี ไม่ว่าแปลไทยเป็นบาลีหรือแปลบาลีเป็นไทย ถ้าเข้าใจสัมพันธ์แล้ว ก็แทบจะไม่ต้องคุยกันมากความ

ดังนั้น ในหลักสูตรภาษาบาลีเบื้องต้น จึงต้องเรียนวากยสัมพันธ์ด้วย
แต่ในบาลีไวยากรณ์สนามหลวง (ของพระเณรและแม่ชี) ท่านเอาวิชาสัมพันธ์นี้ไปอยู่ ป.ธ.3 ซึ่งน่าเสียดายมาก และหลายคนก็เข้าใจว่า วิชานี้ไม่ต้องมีก็ได้ หรือมีไว้เพื่อสอบประโยค 3 ผ่านไปเท่านั้น

การแปลบาลีโดยไม่รู้สัมพันธ์นั้น ผู้แปลจะใช้พลังคือความจำมากเกินความจำเป็น ถ้าพระสงฆ์ที่อยู่ในระบบบาลีมาตลอด สังเกตดูเณรน้อยแปลบาลีประโยค 1-2 จะเข้าใจดีว่า เน้นความจำ ถ้าจำได้ก็สอบได้ แต่ถ้าเณรน้อยเข้าใจสัมพันธ์แต่ต้น ความยุ่งยากในการแปลจะน้อยลงไปแทบจะครึ่งค่อนเลย

เช่นกัน การฝึกสัมพันธ์บาลีได้เร็ว จะมีประโยชน์มาก เมื่อเรียนเนื้อหาวิเคราะห์คำในนามกิตก์/สมาส/ตัทธิต จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและเร็วด้วย

ในกระบวนการเรียนภาษาบาลี ต้องเอาวิชาสัมพันธ์มาให้เรียนแรก ๆ เลย คือเมื่อเริ่มแปลคำศัพท์ ก็ฝึกสัมพันธ์ไปพร้อมกันได้เลย ระบบนี้เราเรียกว่า Fast Tri-Track

ทุกอย่าง เมื่อเราได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะชินเองโดยอัตโนมัติ ภาษาบาลีก็เช่นกัน เมื่อฝึกแปล ฝึกสัมพันธ์บ่อย ๆ ผู้เรียนจะซึมซับเก็บสะสมไปเรือย ๆ แบบเคยชิน แทบไม่ต้องไปฝืนอะไร

5. กลุ่มคำไม่ผันรูป ไม่ต้องรออาจารย์สอน

อีกเรื่องที่ควรรู้ ซึ่งเราไม่ต้องรอพระอาจารย์สอน ดูเองล่วงหน้าได้ คือกลุ่มคำที่ไม่ผันรูปในภาษาบาลี ได้แก่ กลุ่ม อุปสัคค์ นิบาต และปัจจัย พวกนี้ มันไม่แจกรูป เราไปอ่านไปศึกษาเองได้เลย (ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น ปกแข็ง อยู่หน้า 80-110 ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น ปกสีส้ม/พระหัตถ์ อยู่หน้า 78-103) กลุ่มนี้ง่าย เพราะเจอที่ไหน ก็คงรูปอยู่อย่างนั้น ไม่ผันรูปลงวิภัตติเหมือนคำนาม (แต่มีแปรบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ซึ่งเราจะกำหนดได้ง่าย)

6.  หนังสือ "วิธีทำตัวรูปอาขยาต" ให้ใช้ประกอบ เมื่อเรียนรู้เรื่องกิริยาหรืออาขยาตในภาษาบาลี ปกติเราจะเรียนอาขยาตต่อจากนาม เมื่อได้เรียนรู้เรื่องนามแล้ว จึงจะเรียนอาขยาตเข้าใจง่าย การได้ฝึกทำตัวรูปอาขยาต จะทำให้เราเห็นองค์ประกอบของคำชัดเจน หนังสือเล่มนี้จะช่วยได้อย่างมาก

7. การเรียนอะไรก็ตาม หากเราดูหนังสือล่วงหน้าไปก่อนอาจารย์สอน จะทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ชำนาญเร็ว และจำได้นาน ดังนั้น ควรดูหนังสือล่วงหน้าอาจารย์สอนไปสัก 10-20 หน้าเสมอ ๆ



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557 | อ่าน 10644
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15881
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39742
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9393
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10304
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13695
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5844
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8270
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10800
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5743
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5621
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)