แม่กองบาลีสนามหลวง
หัวข้อขึ้นคำต้นว่า "แม่" ...ด้วยพื้นฐานความรู้ความคิดให้จิตน้อมไปสู่นิยามของสตรีที่มีบุตร
ท่านอย่าได้เข้าใจดังนั้น  มิเช่นนั้น คำว่า "แม่กองบาลีสนามหลวง" คงมีความผิดเพี้ยนเป็นแน่


คำว่า "แม่" ในที่นี้ ใช้แทนนิยามว่า "ผู้เป็นใหญ่" ผู้เป็นประธาน, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จัดการ  
คำว่าแม่จึงเป็นคำที่เราใช้ในความหมายผู้มีอำนาจบริหารเบอร์หนึ่งในหน่วยงานนั้นๆ  เช่น
เป็นใหญ่ในกองทัพ  เรียกว่า แม่ทัพ
เป็นใหญ่บ้าน เรียกว่า แม่บ้าน
เป็นใหญ่ในการจัดงาน เรียกว่า แม่  งาน  (ขอเว้นวรรคคำนี้สักหน่อย เกรง  "ง" จะไปชิด ม. เกินไป อ่านเพี้ยนได้)
เป็นใหญ่ในขวด เรียกว่า แม่โขง
.......เอาล่ะ...เข้าใจกันแล้วนะครับ

ดังนั้น คำว่า แม่กองบาลีสนามหลวง ตามหัวข้อนั้น หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในกองงานบาลี  คำว่าสนามหลวง หมายถึง ส่วนกลาง มิได้หมายถึงสนามหลวงเขตพระนครติดวัดพระแก้วแต่อย่างใด  การสอบภาษาบาลีในสมัยโบราณต้องสอบในพระบรมมหาราชวังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงเรียกว่าสอบสนามหลวง ในปัจจุบันกำหนดสนามสอบในแต่ละจังหวัดจะมีสนามสอบส่วนกลาง มิได้สอบต่อหน้าพระที่นั่งเช่นเดิม แต่ก็ยังเรียกว่าสอบสนามหลวงกันอยู่ครับ
ดังนั้น แม่กองบาลีสนามหลวง จึงเป็นประธานกองงานบาลีส่วนกลาง

(เมื่อครั้งไปประชุมสมาคมตำรวจกับวัดปากน้ำ ได้นมัสการเจ้าประคุณสมเด็จฯ แม่กองบาลีสนามหลวง ได้สนทนากับท่านเล็กน้อย)

หากจะกล่าวถึงการศึกษาภาษาบาลี พระสงฆ์ไทยน่าจะมีการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏในสมัยทวารวดี มีหลักฐานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีอย่างเป็นระบบในสมัยอยุธยา
 
การศึกษาบาลีรุ่งเรืองยิ่งในสมัยล้านนา มีการแต่งคัมภีร์บาลีขึ้นมากมาย คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันด้วย
 
การศึกษาภาษาบาลีตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมานั้น มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปภัมภ์ให้การสนับสนุนตลอดมา มีการอุทิศพระราชมณเฑียรเป็นที่เล่าเรียนศึกษาของพระสงฆ์ มีการยกย่องและถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์ผู้มีความรู้ภาษาบาลี  แม้พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ทรงเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญในภาษาบาลี สามารถลงบอกบาลี (สอน) แก่พระสงฆ์สามเณรด้วยพระองค์เองก็มีตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การจัดสอบบาลีหรือการสอบสนามหลวงจัดว่าเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทยโดยพระบรมราชูปถัมภก์ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมบาลีได้ องค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะยกย่องและให้เกียรติถวายสมณศักดิ์โดยเฉพาะ
 
อนึ่ง การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐให้ความสำคัญมาตลอด ดังที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสไว้ใน อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ว่า "การสอบพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง ด้วยอยู่ในพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก" 
ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแลโดยภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล
 
กองบาลีสนามหลวง มีหน้าที่ในการออกข้อสอบและจัดการสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
 
ตำแหน่งแม่กองบาลีสนามหลวงองค์แรก พ.ศ.๒๔๗๑ คือสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพ ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว ป.ธ.๕) 
 
ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งแม่กองบาลีสนามหลวงองค์ที่ ๗ คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
โดยท่านพระสงฆ์นักวิชาการคอยสนองงาน คือ รองแม่กองบาลีสนามหลวง เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง รองเลขานุการฯ และผู้ช่วยเลขานุการ
มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกเมตตาพุทธิ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
 
ผู้เขียนเคยเป็นหนึ่งในทีมงานของท่านเจ้าคุณพระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.๙) นำข้อสอบสนามหลวงไปเปิดสอบที่ต่างจังหวัด เป็นที่น่าสังเกตว่าการทำงานของกองบาลีสนามหลวงนั้น เป็นความลับที่สุด
คือ ท่านมีการประชุมที่วัดปากน้ำเป็นการภายใน  เพื่อออกข้อสอบในระดับชั้นต่างๆ ค่อนข้างเป็นงานที่หนัก คือ จัดพิมพ์ข้อสอบเอง จัดเป็นชุดๆ แยกบรรจุในแต่ละภาค เพื่อให้เจ้าคณะภาครับไปดำเนินการต่อ
นอกจากกองงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวงแล้ว ไม่มีบุคคลอื่นล่วงรู้ได้เลยว่าข้อสอบออกอะไรตรงไหน แม้แต่ผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบเอง ก็ไปรู้ว่าออกข้อสอบเรื่องอะไรก็ต่อเมื่อได้เปิดซองข้อสอบต่อหน้าคณะกรรมการที่สนามสอบ
แม้ว่าบุคคลภายนอกจะสนิทสนมกับกองงานบาลีสนามหลวงมากเพียงใด ใช้ความคุ้นเคยนั้นในการเลียบเคียงถามข้อสอบ ก็ไม่เคยได้คำตอบที่ต้องการ  คงได้แค่คำตอบเดิมๆ ว่า วันสอบจะรู้เอง 

เหตุนี้ จึงไม่ปรากฎข่าว "ข้อสอบรั่ว" มาให้แปดเปื้อนวงการศึกษาภาษาบาลีเลยสักครั้ง 

ระบบนี้ มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวิชาการทางโลก ซึ่งเคยมีนักวิชาการเสนอวิธีใหม่ๆ ที่มหาวิทยาลัยใช้  แต่ก็ยังใช้ระบบเดิมในการเปิดสอบภาษาบาลี

สมเด็จฯ แม่กองบาลี ท่านกล่าวว่า "เพื่อรักษามาตรฐานที่บูรพาจารย์สร้างไว้ และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของการสอบภาษาบาลี" 
 
ระบบการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย จึงยังคงดำรงมั่นมาถึงปัจจุบันนี้
 
ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.infopali.org
www.th.wikipedia.org
หากจะกล่าวถึงการศึกษาภาษาบาลี พระสงฆ์ไทยน่าจะมีการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏในสมัยทวารวดี มีหลักฐานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีอย่างเป็นระบบในสมัยอยุธยา [2]
การศึกษาบาลีรุ่งเรืองยิ่งในสมัยล้านนา มีการแต่งคัมภีร์บาลีขึ้นมากมาย คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันด้วย
การศึกษาภาษาบาลีตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมานั้น มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปภัมภ์ให้การสนับสนุนตลอดมา มีการอุทิศพระราชมณเฑียรเป็นที่เล่าเรียนศึกษาของพระสงฆ์ มีการยกย่องและถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์ผู้มีความรู้ภาษาบาลี จนถึงแม้พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ทรงเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญในภาษาบาลี สามารถลงบอกบาลี (สอน) แก่พระสงฆ์สามเณรด้วยพระองค์เองก็มีตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การจัดสอบบาลีหรือการสอบสนามหลวงจัดว่าเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทยโดยพระบรมราชูปถัมภก์ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมบาลีได้ องค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะยกย่องและให้เกียรติถวายสมณศักดิ์โดยเฉพาะ
อนึ่ง การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐให้ความสำคัญมาตลอด ดังที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสไว้ใน อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ว่า "การสอบพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง ด้วยอยู่ในพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก" 
ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแลโดยภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล
 
กองบาลีสนามหลวง มีหน้าที่ในการออกข้อสอบและจัดการสอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
 
ตำแหน่งแม่กองบาลีสนามหลวงองค์แรก พ.ศ.๒๔๗๑ คือสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพ ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช 
(แพ ติสฺสเทโว ป.ธ.๕) 
 
ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งแม่กองบาลีสนามหลวง คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำภาษีเจริญ
โดยท่านพระสงฆ์นักวิชาการคอยสนองงาน คือ รองแม่กองบาลีสนามหลวง เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง รองเลขานุการฯ และผู้ช่วยเลขานุการ
มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกเมตตาพุทธิ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
 
ผู้เขียนเคยเป็นหนึ่งในทีมงานของท่านเจ้าคุณพระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.๙) นำข้อสอบสนามหลวงไปเปิดสอบที่ต่างจังหวัด เป็นที่น่าสังเกตว่าการทำงานของกองบาลีสนามหลวงนั้น เป็นความลับที่สุด
คือ ท่านมีการประชุมที่วัดปากน้ำเป็นการภายใน  เพื่อออกข้อสอบในระดับชั้นต่างๆ ค่อนข้างเป็นงานที่หนัก คือ จัดพิมพ์ข้อสอบเอง จัดเป็นชุดๆ แยกบรรจุในแต่ละภาค เพื่อให้เจ้าคณะภาครับไปดำเนินการต่อ
นอกจากกองงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวงแล้ว ไม่มีบุคคลอื่นล่วงรู้ได้เลยว่าข้อสอบออกอะไรตรงไหน แม้แต่ผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบเอง ก็ไปรู้ว่าออกข้อสอบเรื่องอะไรก็ต่อเมื่อได้เปิดซองข้อสอบต่อหน้าคณะกรรมการที่สนามสอบ
แม้ว่าบุคคลภายนอกจะสนิทสนมกับกองงานบาลีสนามหลวงมากเพียงใด ใช้ความคุ้นเคยนั้นในการเลียบเคียงถามข้อสอบ ก็ไม่เคยได้คำตอบที่ต้องการ  คงได้แค่คำตอบเดิมๆ ว่า วันสอบจะรู้เอง 
เหตุนี้ จึงไม่ปรากฎข่าว "ข้อสอบรั่ว" มาให้แปดเปื้อนวงการศึกษาภาษาบาลีเลยสักครั้ง 
 
สมเด็จแม่กองบาลี ท่านกล่าวว่า "เพื่อรักษามาตรฐานที่บูรพาจารย์สร้างไว้ และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของการสอบภาษาบาลี" 
 
ระบบการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย จึงยังคงดำรงมั่นมาถึงปัจจุบันนี้
 
ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.infopali.org
www.th.wikipedia.org


เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556 | อ่าน 8443
เขียนโดย ช.ชินวัฒน์
 
 
แม่กองบาลีสนามหลวง
 
ทั้งหมด 1 รายการ 1 / 1
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)